วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชาดก


ชาดก (สันสกฤต และ บาลี: जातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้อยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก
ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก แต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไป คือ ชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีนับพันเรื่อง หมายถึง พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติ โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่า ทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า เวสสันดรชาดก

ความหมายของชาดก

คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก
ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ
นัยยะหนึ่งชาดก จึงหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์เสวยพระชาติต่างๆ เป็นมนุษย์บ้าง อมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์บ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ผู้ใดจะทรงยกชาดก ซึ่งเป็นนิทานอิงธรรมมาเล่าเป็นบุคคลาธิษฐาน คือเป็นวิธีการสอนแบบยกเอาเรื่องราวนิทานมาประกอบ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย แทนที่จะสอนธรรมะกันตรงๆ
ดร.สมิตธิพล เนตรนิมิตร ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชาดกไว้ว่า
ชาดก มีความหมายที่ใช้กันทั่วไป ๒ อย่าง
(๑) หมายถึง เกิด เช่น “ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุผู้แสวงหามีดและขวานเพื่อจะตัดต้นไม้และเถาวัลย์ที่เกิด ณ ที่นั้น” (ตตฺถ ชาตกกฏฺฐลตาเฉทนตฺถํ วาสิผรสํ) หรือ “ที่ขึ้นอยู่ที่นั้น ได้แก่ ที่เกิดบนหม้อดินที่ฝังไว้นาน” (ตตฺถ ชาตกนฺติ จิรนิหิตาย กุมฺภิยา อุปริ ชาตกํ)
(๒) หมายถึง การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้ (ชาตํ ภูตํ อตีตํ ภควโต จริยํ, ตํ กียติ กถียติ เอเตนาติ ชาตกํ) ชาดกเป็นพระพุทธพจน์ประเภทที่ไม่ใช่พระสูตร เป็นคำสอนที่มีอิทธิพลต่อวิธีสอนธรรมในยุคต่อมา เป็นการสอนอย่างเล่านิทาน เหมาะกับผู้ฟังทุกระดับ เป็นเทคนิคที่คงประสิทธิผลต่อผู้ฟังมาทุกยุคสมัย เพราะผู้สอนมีความรู้หลายด้าน รู้วิธีนำเสนอ มีวาทศิลป์ เชื่อมโยงให้คนฟังมองเห็นภาพลักษณ์ชวนให้น่าติดตาม

[แก้]ประเภทชาดก

ประเภทของชาดก มี ๒ ประเภทคือ
๑.ชาดกนิบาต ชาดกในนิบาต หรือที่เรียกว่า นิบาตชาดก หมายถึงชาดกทั้ง ๕๔๗ เรื่องที่มีอยู่ในคัมภีร์ขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก หนึ่งในตะกร้า ๓ ใบ(พระไตรปิฎก) นิบาตชาดกแต่งเป็นคาถาคือคำฉันท์ล้วนๆโดยจะมีการแต่งขยายความเป็นร้อยแก้ว เป็นอรรถกถาชาดก เหตุที่เรียกว่า นิบาตชาดก ก็เพราะว่า ชาดกในพระไตรปิฎกนี้จะถูกจัดหมวดหมู่ตามจำนวนคาถา มีทั้งหมด ๒๒ หมวด หรือ ๒๒ นิบาต นิบาตสุดท้ายคือ นิบาตที่ ๒๒ ประกอบด้วยชาดก ๑๐ เรื่อง หรือที่เรียกว่า "ทศชาติชาดก"
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทาน เรื่องละเอียดมีเล่าไว้ในอรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง
อนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี ๕๕๐ เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า
ในเล่มที่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรื่อง ในเล่มที่ ๒๘ มี ๒๒ เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๕๔๗ เรื่อง ขาดไป ๓ เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดก ภาค ๒ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็ก ๆ น้อย ๆ รวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ นี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาว ๆ ทั้งนั้น โดย ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ
๒. ชาดกนอกนิบาต หมายถึง ชาดกที่ไม่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นชาดกที่ภิกษุชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวมาจากนิทานพื้นบ้านไทยมาแต่งเป็นชาดก ขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐-๒๒๐๐ ชาดกนี้เรียกอีกชื่อว่า "ปัญญาสชาดก"แปลว่า ชาดก ๕๐ เรื่อง[1] และรวมกับเรื่องในปัจฉิมภาคอีก ๑๑ เรื่อง[2] รวมเป็น ๖๑ เรื่อง

[แก้]รายชื่อชาดกเรื่องต่างๆ

[แก้]นิบาตชาดก

เป็นเรื่องชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก มีทั้งหมด 547 เรื่อง ปรากฏในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง ซึ่งจำแนกในแต่ละหมวด แต่ละเรื่องได้ คือ

[แก้]ทศชาติชาดก

  1. เตมิยชาดก
  2. ชนกชาดก
  3. สุวัณณสามชาดก
  4. เนมิราชชาดก
  5. มโหสถชาดก
  6. ภูริทัตชาดก
  7. จันทชาดก
  8. นารทชาดก
  9. วิธูรชาดก
  10. มหาเวสสันดรชาดก

[แก้]ปัญญาสชาดก 50 เรื่อง

ปัญญาสชาดก เป็นชาดกที่ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก ไม่ปรากฏชัดเจนถึงชื่อผู้แต่ง หรือปีที่แต่ง แต่ก็มีผู้สันนิษฐาน และทราบเพียงแต่ว่าผู้แต่งคือภิกษุชาวเชียงใหม่ ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๐๐๐ - ๒๒๐๐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลิขิต ลิขิตานนท์ คาดว่าน่าจะแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘ แต่ศาสตราจารย์ ดร. นิยะดา สาริกภูติ ให้ข้อมูลเสริมต่อชาดกชุดนี้ว่า น่าจะเก่ากว่านั้นเพราะมีหลักฐานเป็นศิลาจารึกหลักหนึ่งของพม่าซึ่งจารึกเมื่อ จ.ศ. ๖๒๗ (พ.ศ. ๑๘๐๘) ตั้งอยู่ที่วัด Kusa-samuti หมู่บ้าน Pwasaw ปัญญาสชาดก แต่งเลียนแบบชาตกัฏฐกถา (อรรถกถาชาดก) เพื่อเป็นการสอนศาสนาโดยใช้ชาดกและแต่งเป็นชาดกนอกนิบาต ๕๐ เรื่อง ผนวกกับปัจฉิมภาคอีก ๑๑ เรื่อง ดังนี้
  1. สมุททโฆสชาดก เป็นที่มาของสมุทโฆษคำฉันท์ในสมัยพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา
  2. สุธนชาดก มีผู้นำไปแต่งเป็นบทละครนอกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
  3. สุธนุชาดก
  4. รัตนปโชตชาดก
  5. สิริวิบุลกิตติชาดก
  6. วิบุลราชชาดก เป็นเรื่องที่หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศนำไปแต่งเป็นโครงเรื่องของกลอนกลบทชนิดต่าง ๆ เรียกรวมว่า กลบทศิริวิบุลกิตติ
  7. สิริจุฑามณิชาดก
  8. จันทราชชาดก
  9. สุภมิตตชาดก
  10. สิริธรชาดก
  11. ทุลกบัณฑิตชาดก
  12. อาทิตชาดก
  13. ทุกัมมานิกชาดก
  14. มหาสุรเสนชาดก
  15. สุวรรณกุมารชาดก
  16. กนกวรรณราชชาดก
  17. วิริยบัณฑิตชาดก
  18. ธรรมโสณฑกชาดก
  19. สุทัสนชาดก
  20. วัฏกังคุลีราชชาดก
  21. โบราณกบิลราชชาดก
  22. ธรรมิกบัณฑิตราชชาดก
  23. จาคทานชาดก
  24. ธรรมราชชาดก
  25. นรชีวชาดก
  26. สุรูปชาดก
  27. มหาปทุมชาดก
  28. ภัณฑาคารชาดก
  29. พหลาคาวีชาดก สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนำไปเป็นต้นเรื่องของละครนอกเรื่อง คาวี และเรื่องพหลคาวีชาดกนี้ พระมหาราชครูในสมัยพระนารายณ์ก็ได้นำไปแต่งเป็นเรื่อง เสือโคคำฉันท์ ด้วย
  30. เสตบัณฑิตชาดก
  31. ปุปผชาดก
  32. พาราณสิราชชาดก
  33. พรหมโฆสราชชาดก
  34. เทวรุกขกุมารชาดก
  35. สลภชาดก
  36. สิทธิสารชาดก
  37. นรชีวกฐินชาดก
  38. อติเทวราชชาดก
  39. ปาจิตตกุมารชาดก
  40. สรรพสิทธิกุมารชาดก เป็นต้นเรื่องที่สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสนำไปเป็นพระนิพนธ์เรื่อง สรรพสิทธิคำฉันท์
  41. สังขปัตตชาดก
  42. จันทเสนชาดก
  43. สุวรรณกัจฉปชาดก
  44. สิโสรชาดก
  45. วรวงสชาดก
  46. อรินทมชาดก
  47. รถเสนชาดก
  48. สุวรรณสิรสาชาดก
  49. วนาวนชาดก
  50. พากุลชาดก

[แก้]ปัจฉิมภาคชาดก 11 เรื่อง

  1. โสนันทชาดก
  2. สีหนาทชาดก
  3. สุวรรณสังขชาดก สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนำไปแปลงและทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง
  4. สุรัพภชาดก
  5. สุวรรณกัจฉปชาดก
  6. เทวันธชาดก
  7. สุบินชาดก
  8. สุวรรณวงศชาดก
  9. วรนุชชาดก
  10. สิรสาชาดก
  11. จันทคาธชาดก

[แก้]อิทธิพลชาดกต่อสังคม

  • อิทธิพลด้านคำสอน
  • อิทธิพลด้านจิตรกรรม
  • อิทธิพลด้านวรรณคดี/ภาษา
  • อิทธิพลด้านความเชื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น