วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ขนมไทย

ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าาเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม

การแบ่งประเภทของขนมไทย

แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ [1]

วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย

 

ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้าวและแป้ง

การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไคม 2536</ref> ส่ากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่]] ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ[2]

มะพร้าวและกะทิ

มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ [2]
  • มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
  • มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย[3]
  • มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย

น้ำตาล

แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำตาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง

ไข่

เริ่มเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่ง ได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม [2]

ถั่วและงา

ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์[4] ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้[5]
  • ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
  • ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
  • ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
  • งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา

กล้วย

กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น[6]

สี

สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ [2]
  • สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
  • สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
  • สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น
  • สีแดงจากครั่ง
  • สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง

กลิ่นหอม

กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ [2]
  • กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
  • กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
  • กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
  • กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม

ขนมไทยแต่ละภาค

ขนมไทยภาคเหนือ

ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[7]
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[8]

ขนมไทยภาคกลาง

ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น

ขนมไทยภาคอีสาน

เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง [9]นอก จากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง) [10]

ขนมไทยภาคใต้

ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ [11]
  • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
  • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
  • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
  • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
  • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
  • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
  • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
  • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
  • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
  • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
  • ขนมดาดา เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ใช้ในโอกาสเดียวกับฆานม ประกอบด้วยข้าวเจ้า ข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละเอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว
  • ขนมกรุบ นิยมทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำอุ่น นำไปรีดให้แผ่บางบนใบตอง นำไปนึ่งแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วทอดให้กรอบคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวเป็นยางมะตูม
  • ขนมก้องถึ่ง ทำจากถั่วลิสงคั่ว คลุกกับน้ำตาลร้อนๆ แล้วใช้ไม้ทุบให้ละเอียดจนเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้น

ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล

ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้

ขนมไทยในงานเทศกาล

  • งานตรุษสงกรานต์ ที่พระประแดง และราชบุรี ใช้กะละแมเป็นขนมประงานตรุษ[12] [13]
  • สารทไทย เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้กระยาสารทเป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพอง ขนมท่อนใต้ ขนมบ้า ขนมเจาะหูหรือขนมดีซำ ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้ม ต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม (กะละแม) [12] โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ ขนมพอง เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ ขนมดีซำเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า ใช้เป็นลูกสะบ้า ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ [14]
  • เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่า เมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลก มนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอ[12] บางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรี [13]
  • ในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อ ซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ) และห่อมัด (เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือก มัด) [15]
  • ในช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ[16]
  • เดือนอ้าย มีพระราชพิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าราศีธนู นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูป มาฉันขนมเบื้องในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[17]
  • เดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟ โดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ) [15]
  • เดือนสาม ทางภาคอีสานมีประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งจะทำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัด[18]
  • ชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวนขนมอาซูรอในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม[11]

ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ

  • การสะเดาะเคราะห์และแก้บนของศิลปินวายัง-มะโย่งของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ใช้ข้าวเหนียวสามสี (ขาว เหลือง แดง) ข้าวพอง (ฆีแน) ข้าวตอก (มือเตะ) รา (กาหงะ) และขนมเจาะหู[19]
  • ในพิธีเข้าสุหนัต ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน นำเรือใหม่ลงน้ำ ชาวไทยมุสลิมนิยมทำขนมฆานม[19]
  • ขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน ในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก บางแห่งใช่ขนมพระพายและขนมละมุดก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปียก ขนมเปี๊ยะ ถ้าเป็นตอนเช้า ยังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ[20] บางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย[3]
  • พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม จะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มี กะละแมหรือขนมดอดอย ขนมก้อหรือตูปงปูตู ขนมลาและข้าวพอง[21]
  • ขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ[13]
  • ในงานศพ ชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิ [13]
  • การบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา [22] ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกัน [23] เครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำผงอิทธิเจ ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกัน[24]
  • พิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอด [13]
  • ขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน) เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน
  • ในการเล่นผีหิ้งของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม [25]

ขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่น

ดูบทความหลักที่ ขนมเมืองเพชร

ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น

ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส

ขนมชั้น

ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ
ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน โดย
  • แป้งมัน จะทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
  • แป้งท้าว จะทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
  • แป้งข้าวเจ้า จะทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
  • แป้งถั่วเขียว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
  •  

ขนมต้ม

ขนมต้มเป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ามาพร้องกับศาสนาพราหมณ์และลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเชื่อกันว่าพระพิฆเนศโปรด ขนมนี้มาก ครั้งหนึ่งเสวยเข้าไปจนเต็มพุง เมื่อขี่หนูกลับวิมาน ระหว่างทางหนูมาเจองู ตกใจจึงหยุดทันที พระพิฆเนศตกจากหลังหนู พุงแตก พระพิฆเนศเสียดายขนมจึงกอบเข้าใส่พุงใหม่แล้วเอาซากงูที่ตีตายแล้วมาพันพุง ไว้ แล้วจึงกลับไปวิมาน [1]ต่อมาได้มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ ในประเพณีสู่ขอแต่โบราณในบางท้องที่ใช้ขนมต้มด้วย ดังมีเพลงพวงมาลัยร้องเล่นว่า[2]
โอ้ละเหยลอยมา
ลอยมาแล้วก็ลอยไป
พ่อแม่ท่านเลี้ยงมายาก
จะกินขันหมากให้ได้
ไม่ได้กินหนมต้มอมน้ำตาล
น้องไม่รับประทานของใคร
พวงเจ้าเอ๋ยมาลัย
ถอยหลังกลับไปเถิดเอย
ขนมต้มขาวนั้น ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ ลงไปต้มให้สุก โรยด้วยมะพร้าวขูด ต่อมาจึงทำหน้ากระฉีก ซึ่งเป็นมะพร้าวขูดมาเคี่ยวกับน้ำตาลหม้อจนเหนียว ใช้เป็นไส้แทน ส่วนขนมต้มแดง ใช้แป้งข้าวเหนียวแผ่เป็นแผ่นแบน ต้มให้สุก ราดด้วยหน้ากระฉีกที่ค่อนข้างเหลว[1]
ขนมที่เรียกว่าขนมต้มของภาคใต้จะต่างไปจากภาคกลาง ขนมต้มของภาคใต้จะเป็นข้าวเหนียวผสมน้ำกะทิห่อใบกะพ้อแล้วเอาไปต้ม บางท้องที่เรียกห่อต้ม ขนมที่ทำแบบนี้ทางภาคกลางเรียกข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัด[3]

เพลงไทยเดิม

เพลงไทยเดิม หมายถึง เพลงที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น การเอื้อน ลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีไทยไป ด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการสันนิษฐานถึงที่มาของเครื่องดนตรีไทยในบางเครื่องว่ากำเนิดมาจากต่างชาติ แต่บรรพบุรุษไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ให้เข้ากับเพลงไทยเดิม

ลักษณะ

คีตกวีหรือนักแต่งเพลงไทยเดิม จะแต่งทำนองขึ้นก่อนแล้วจึงตั้งชื่อเพลงนั้น สำหรับเนื้อร้องบางครั้งจะเอาเนื้อร้องจากคำประพันธ์ที่ไพเราะในวรรณคดีต่างๆ เช่นจากพระอภัยมณี พระลอ ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ มาใส่ การแต่งเพลงขึ้นตอนแรกจะมีจังหวะปานกลาง แต่บางครั้งก็เอาทำนองนั้นไปขยายให้ยาวขึ้นและยุบทำนองให้สั้นลง แล้วนำมาบรรเลงติดต่อกันโดยเริ่มทำนองขยายก่อนด้วยจังหวะช้าเรียกว่าจังหวะ 3 ชั้น ต่อด้วยทำนองเดิมจังหวะปานกลางเรียกว่า 2 ชั้น และต่อด้วยทำนองที่ยุบให้สั้นลงด้วยจังหวะเร็ว เรียกว่า ชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถา ถ้านำไปบรรเลงเพียงจังหวะเดียวเรียกเพลงเกร็ด และนำเพลงเกร็ดหลายๆ เพลงที่มีอัตราจังหวะเดียวกันมาบรรเลงติดต่อกันเรียกว่า เพลงตับ
การเอื้อน มาจากการที่เพลงไทยอาศัยเนื้อร้องจากคำประพันธ์อื่นมาสวมใส่ทำนองที่แต่งไว้ แล้ว ทำนองและเนื้อร้องจึงไม่พอดีกัน โดยใช้เสียง “เออ” หรือ “เอย” และลักษณะนี้เองทำให้เพลงไทยไม่เหมือนเพลงของชาติอื่นๆ ในโลก เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงไทย

เพลงไทยสากล

เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง

ประวัติ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดทหารตามแบบยุโรป ซึ่งมีการใช้ดนตรีบรรเลงประกอบการฝึกทหาร โดยใช้ดนตรีประเภทแตรวง จากบันทึกของ เทาเซนต์ แฮรีส ทูตชาวอเมริกันที่เข้ามาเมืองไทย กล่าวว่า “วงดนตรีของเขาแปลกใหม่ที่ดึงดูดความสนใจของคนไทยที่พบเห็นเป็นอันมา” และ คนไทยเริ่มคุ้นกับแตรวงหรือแตรฝรั่งตั้งแต่นั้น จนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 Jacob Feit (ผู้เป็นบิดาของ พระเจนดุริยางค์) ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน เข้ามารับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) ปรับปรุงแตรวงทหารในปี พ.ศ. 2420 วงแตรวงทหารในเวลาต่อมาได้รับการเรียกชื่อใหม่ว่า “วงโยธวาทิต” (Military Band) [1] ในราชสำนักไทยมีการเล่นดนตรีสำหรับบรรเลงทั้งดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นผู้นำการแต่งทำนองเพลงตามมาตรฐานดนตรีสากลและในการประพันธ์เพลง สำหรับบรรเลงด้วยแตรวงโดยเฉพาะเพลงวอลซ์ปลื้มจิต ในปี พ.ศ. 2446 สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรกในประวัติศาสตร์ดนตรีของเมืองไทย[2] เพลงต่าง ๆ เหล่านี้ทรงนิพนธ์โดยใช้โน้ตและจังหวะแบบสากล และจากพระปรีชาสามารถในการทรงประพันธ์เพลง จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล” [3]
ละครร้องได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2451 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ซึ่ง ทรงดัดแปลงมาจากละครมาเลย์ที่เรียกกันว่า “มาเลย์โอเปร่า” หรือ “บังสาวัน” และทรงตั้งชื่อละครคณะใหม่นี้ว่า “ปรีดาลัย” ลักษณะของเพลงมีเนื้อร้องมากเอื้อนน้อยและให้ลูกคู่เป็นผู้เอื้อนแทนนักแสดง ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงนั้น จนในปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างวงดนตรีในราชสำนักเรียกว่า “วงเครื่องสายฝรั่งหลวง” และโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนดนตรีทุกประเภทที่ชื่อ โรงเรียนพรานหลวง ที่สวนมิสกวัน นอกจากนั้นทรงสร้าง “กาแฟนรสิงห์” บริเวณมุมถนนศรีอยุธยาลานพระราชวังดุสิต ให้ประชาชนพักผ่อน มีสถานที่ขายอาหาร และยังจัดบรรเลงดนตรี วงดุริยางค์สากลและวงปี่พาทย์ให้ประชาชนฟัง ทุก ๆ วันอาทิตย์เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น.
จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ดนตรีตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ประชาชนอย่างกว้างขวางตามลำดับ ทรงส่งเสริมไห้มีการฝึกดนตรีตะวันตกในหมู่ข้าราชการบริพารและนักดนตรีไทย ซึ่งมีนักดนตรีที่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องอย่าง พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) และอีกบุคคลหนึ่งในวงเครื่องสายฝรั่งหลวง เป็นหัวหน้าวงกรมโฆษณาการนั่นคือ เอื้อ สุนทรสนาน[4]
เพลงไทยสากล อาจพูดได้ว่าที่มา เกิดจาก 2 สายคือ สายทางละครและสายทางภาพยนตร์ สายทางละครนั้นละครคณะปรีดาลัยเป็นต้นกำเนิด มีลักษณะเป็นเพลงไทยที่ร้องตามทำนองฝรั่ง ส่วนทางสายภาพยนตร์ สันนิษฐานว่าชาวญี่ปุ่นเป็น ชาติแรกที่นำเข้ามาฉายในเมืองไทยราวปี พ.ศ. 2471 ในช่วงแรกเป็นภาพยนตร์เงียบ จึงมีการริเริ่มทำเพลงประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรสสำหรับผู้ชม โดยใช้แตรวงบรรเลงก่อนการฉายและขณะทำการฉายหนัง เพลงที่บรรเลงเป็นเพลงสากลกับเพลงไทยเช่น เพลงแบล็คอีเกิ้ล และเพลงของทูลกระหม่อมบริพัตรคือเพลงมาร์ชบริพัตรและวอลซ์ปลื้มจิต
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ภาพยนตร์ตะวันตก ทำให้คณะละครที่มีชื่อเสียงต้องหยุดลงไป มีละครสลับรำ (คือมีร้องเพลงประกอบบ้าง) ได้รับความนิยมแทน แต่ละครเพลงเหล่านี้ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าภาพยนตร์ตะวันตก ความนิยมในละครประเภทนี้ก็ลดลงตามลำดับ[5] จนในปี พ.ศ. 2470 จวงจันทร์ จันทร์คณา (พรานบูรณ์) ผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงของคณะละครศิลป์สำเริง (คณะละครของแม่เลื่อน) ประวัติ โคจริก (แม่แก้ว) ผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงของคณะละครนครบันเทิง (คณะละครของแม่บุญนาค) และสมประสงค์รัตนทัศนีย์ (เพชรรัตน์) แห่งคณะละครปราโมทย์นคร (คณะละครของแม่เสงี่ยม) ได้พัฒนาเพลงประกอบละคร “โดยการดัดแปลงจากเพลงไทยเดิมที่ มีทำนองสองชั้นมาใส่เนื้อร้องแทนทำนองเอื้อนใช้ดนตรีคลอฟังทันหูทันใจ เป็นที่นิยมของประชาชนซึ่งเรียกกันว่าเพลงเนื้อเต็มหรือเนื้อเฉพาะแต่ยังคง ใช้ปี่พาทย์บรรเลงเหมือนเช่นเดิมอยู่”[6]
เพลงไทยสากล ในสมัยของพรานบูรณ์ (2470-2472) มีลักษณะเป็น “เพลงไทยเดิมสากล” ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงไทยเดิม พรานบูรณ์ได้แต่งเพลงลักษณะนี้อีกเป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2474 พรานบูรณ์และเพชรรัตน์แห่งละครคณะศรีโอภาสได้นำดนตรีสากลประเภทเพลงแจ๊ส (Jazz Band) หรือ รหัสดนตรี เป็นส่วนประกอบละครเรื่อง “โรสิตา” และนำทำนองเพลง “วอลซ์ปลื้มจิต” มาใส่เนื้อร้อง ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการเผยแพร่บทเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ที่ศาลาแดง และมีการบันทึกแผ่นเสียง โดยห้างนายต.เง็กชวน[7] และในปีเดียวกันพรานบูรณ์ร่วมงานกับคณะละครจันทโรภาสก็โด่งดังที่สุดขั้น ด้วยละครร้องเรื่อง”จันทร์เจ้าขา” ซึ่งมีสถิติการนำออกแสดงถึง 49 ครั้ง ติดต่อกันแทบทุกโรงมหรสพที่มีในพระนครและธนบุรี โดยพรานบูรณ์แต่งเพลงไทยสากล มีลีลาทำนองอ่อนหวานอาทิ เพลงจันทร์เจ้าขา จันทร์สวาท จันทร์ลอย จันทร์จาฟ้าจันทร์แฝงหมอก ขวัญของเรียม ในช่วงนั้นบทเพลงประกอบละครร้องเป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไปตราบจนกระทั่ง ความนิยมละครร้องลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาพยนตร์พูดเสียงในฟิล์ม เข้ามาได้รับความนิยมแทน ซึ่งทีบทขับร้องประกอบด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ความนิยมในภาพยนตร์ตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ มีการสร้างศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2474 สกุลวสุวัต ซึ่งมี มานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) กระเศียร วสุวัต และการะแส วสุวัต แห่งศรีกรุงภาพยนตร์ทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มหรือ ภาพยนตร์พูดได้เป็นครั้งแรกชื่อเรื่องว่า “หลงทาง” ดนตรีประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ดนตรีสากลบรรเลงเพลงไทยแท้ มีเนื้อร้อง ทำนองที่มีเอื้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งได้แก่เพลงพัดชา บัวบังใบ ฯลฯ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” โดยมี ขุนวิจิตรมาตรา กำกับการแสดงและเรือโทมานิต เสณะวีนิน ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อว่า “เพลงกล้วยไม้” ซึ่งนับเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรก ในการแต่งทำนองตามหลักโน้ตสากลในประวัติศาสตร์เพลงของเมืองไทย ขับร้องโดย องุ่น เครือพันธ์ และมณี บุญจนานนท์ ขับร้องหน้าเวทีสลับการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้[8] ที่เรียกว่าเพลงไทยสากล น่าจะเพราะ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้องภาษาไทยแต่มีท่วงทำนองลีลาและจังหวะเป็นแบบสากล
ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงกลาโหมสร้างภาพยนตร์ “เลือดทหารไทย” มีเพลงประกอบ 3 เพลงคือ “มาร์ชไตรรงค์” “ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา” และ “มาร์ชเลือดทหารไทย” ประพันธ์โดยเรือโทมานิต เสนะวีณิน และยังมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องที่ประพันธ์โดย เรือโทมานิต และขุนวิจิตรมาตรา เช่น ตะวันยอแสง จากเรื่อง“เลือดชาวนา” เพลงบวงสรวงจากเรื่อง “เมืองแม่หม้าย” ฯลฯ และหลังจากที่เรือโทมานิต เสนะวีณิน ถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2479 ได้เกิดนักแต่งเพลงคนใหม่คือนารถ ถาวรบุตร มีเพลงเพลงที่เป็นที่นิยมมากมาย เช่น พลับพลึงไพร ชื่นชีวิต แสนอาลัย ใจสนองใจ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2478 ทางราชการได้แต่งเพลงขึ้นอีก 2 เพลงคือเพลงชาติและเพลงเถลิงรัฐธรรมนูญ และยังมีเพลงที่สำคัญ เช่น เพลงรักเมืองไทย เพลงเลือดสุพรรณ ศึกถลาง เพลงแหลมทอง เป็นต้น ส่วนเพลงเพื่อกองทัพนั้นได้รับความนิยมสูงมากจนถึงกับนำไปเป็นเพลงสัญลักษณ์ ก่อนการฉายภาพยนตร์ และเมื่อสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีนเกิดขึ้นเพลงปลุกใจก็ยิ่งมากขึ้น เช่นเพลงแนวรบแนวหลัง เพลงทหารไทยแนวหน้า เพลงมณฑลบูรพา เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้าง เรื่อง “เพลงหวานใจ” โดยมีขุนวิจิตรมาตราเป็นผู้แต่งบทภาพยนตร์ คำร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และกำกับการแสดง นารถ ถาวรบุตร เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และในปีเดียวกัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นหัวหน้าวงดนตรีมีนักดนตรีที่สำคัญในวงเช่น เอื้อ สุนทรสนาน เวส สุนทรจามร สังเวียน แก้วทิพย์ จำปา เล้มสำราญ คีติ คีตากร (บิลลี่) ฯลฯ มีเพลงที่ได้รับความนิยมอย่าง “ลมหวล” และ “เพลิน” จากภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”
ในปี พ.ศ. 2482 มีการจัดตั้งกรมโฆษณาการโดยมีวิลาศ โอสถานนท์ เป็นอธิบดีคนแรก และมีการตั้งวงดนตรีของกรมโฆษณาการเพื่อบรรเลงเพลงส่งไปกระจายตามสถานีวิทยุ และตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมี เอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง เวท สุนทรจามร เป็นผู้ช่วย นักร้องรุ่นแรก ๆ ที่สำคัญ เช่น จุรี โมรากุล (มัณฑนา โมรากุล) ล้วน ควันธรรม รุจี อุทัยกร สุภาพ รัศมีทัต ชวลี ช่วงวิทย์ เป็นต้น โดยมีนักแต่งเพลงประจำวงที่สำคัญ คือเอื้อ สุนทรสนาน เวท สุนทรจามร ล้วน ควันธรรม และแก้ว อัจฉริยะกุล ร่วมกันแต่งเพลงออกมาจำนวนหนึ่งด้วยในปี พ.ศ. 2482 เช่นกัน และต่อมาได้ตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์” ขึ้น ลักษณะของวงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นแบบตะวันตกโดยใช้เครื่องเป่าเป็นหลัก เช่น ทรัมเปต คาริเนต และมีเครื่องสายผสม เช่น ไวโอลิน เป็นวงแบบ Big Band กำเนิดวงดนตรี สุนทราภรณ์นี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงไทยสากลในยุคปัจจุบัน[9]
จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ขาดแคลนฟิล์มและสิ่งบันเทิง แต่ละครเวทีเป็นที่นิยมขึ้น ละครเกิดขึ้นอย่างมากมายที่สำคัญ เช่น คณะอัศวิน ของพระเจ้าภาณุพันธ์ยุคล คณะนาฎยากร ของ สด กูรมะโรหิต คณะศิวรมณ์ ของขุนสวัสดิ์ทิฆัมพร คณะวิจิตร เกษม ของบัณฑูรย์ องค์วิศิษย์ เป็นต้น ซึ่งคณะละครได้แต่งเพลงไทยสากล เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครและเพลงร้องสลับการแสดงขณะเปลี่ยนฉากไว้เป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2507 เพลงไทยสากลได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลงลูกกรุง และเพลงไทยลูกทุ่ง และในระยะเวลาไล่เลี่ยกันกระแสเพลงร็อกแอนด์โรลของทางฝั่งตะวันตกอย่างวง เดอะ บีทเทิลส์ ได้รับความนิยมอย่างมาก ในส่วนของประเทศไทยได้มีการประกวดเพลงไทยสากลแนวใหม่ชิงถ้วยพระราชทานนั่น คือ เพลงสตริงคอมโบ (ใช้เครื่องเป่าผสมกีตาร์เป็นหลัก) วงชนะเลิศคือวง ดิอิมพอสซิเบิ้ล ซึ่งเป็นวงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
ต่อมาในยุคที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางการเมือง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพลงไทยมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง สังคม และคนยากไร้ ใช้ดนตรีเรียบง่ายอย่างกีตาร์โปร่ง ที่รู้จักกันว่า "เพลงเพื่อชีวิต" มีวงที่มีชื่อเสียงอย่างวงคาราวาน ภายหลังปี 2521 เพลงแบบสตริงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เกิดวงดนตรีใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เช่น แกรนด์เอกซ์ คีรีบูน บรั่นดี อัสนี-วสันต์ และ ฯลฯ และเพลงสตริงก็ยังเป็นที่นิยมในตลาดจนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีแนวเพลงเพิ่ม ขึ้นหลากหลายมากขึ้น กลุ่มผู้ฟังได้แยกแตกกระจายเป็นกลุ่มๆ ตามความชอบของผู้ฟัง โดยในแต่ละกลุ่มก็มีการมอบรางวัลให้นักร้อง นักแต่งเพลง สำหรับแนวเพลงที่เกิดมาในยุคหลังก็เช่น แร็ป ฮิปฮอป เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

วังน้ำเขียว

วังน้ำเขียว





"วังน้ำเขียว" สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ คุณเคยไปมาแล้วหรือยัง  ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เพียง 2 – 3 ชม. เดินทางจากผ่านจ.ฉะเชิงเทรา เข้า อ.นาดี(ปราจีนบุรี) บนทางหลวงสาย 304 คลิ๊ก การเดินทางวังน้ำเขียว
     วังน้ำเขียว ผมเองวางแผนที่จะเดินทางมาสำรวจที่นี่อยู่หลายครั้งแต่มีอันต้องยกเลิกไป ความเป็นธรรมชาติโดยภูมิประเทศ ที่ราบสูงเนินเขาหากมองทางอากาศคงจะเป็นที่ทิวเขาลูกๆ สลับกับที่ราบ คงจะสวยไม่น้อย วังน้ำเขียวอยู่อีกด้านของเทือกเขาใหญ่ อากาศเย็นจากประเทศจีนจะพัดมาช่วงปลายฝน ผ่านมาทางที่ราบอีสานกระทบกับเทือกเขาใหญ่ ทำให้บริเวณ วังน้ำเขียวแห่งนี้เย็นตลอดทั้งปี ห้องพักรีสอร์ทบางแห่งจึงไม่จำเป็นต้องมีแอร์ เช่น วิลเลจฟาร์ม หากชอบบรรยากาศริมเขา อย่างเขาแผงม้า ก็ต้อง วิลล่าเขาแผงม้า หากชอบบรรยากาศบนเนินและสนามกว้างต้องที่ อิมภูฮิลล์ หรือบ้านไร่คุณนาย หากเป็นหมู่คณะแล้วสองที่หลังนี้เหมาะที่จะทำกิจกรรมได้ (ชมภาพและบรรยากาศรีสอร์ท คลิ๊ก ที่พักวังน้ำเขียว) หลังจากที่ผมได้สำรวจรีสอร์ทั้ง 4-5 ที่นี้แล้ว       ผมได้เดินถ่ายรูปไร่อรุ่นที่กำลังแทงช่อ ออกผล ทั้งสีเขียว สีม่วงจากต้น ดู ไร่อรุ่น คลิก ฟาร์มเห็ด รึไม่พลาดแน่นอน กับภาพมาโคสวย แต่เที่ยวเย็นไปหน่อย แสงไม่ค่อยพอ ถ่ายได้ไม่ค่อยดีนัก ก่อนออกแถวไทยสามัคคี แวะตลาดปากทางพอจะหาซื้อพืชผลทางเกษตรได้ น้ำองุ่น เห็ดต่างๆ ส่วนผมขอเห็ดออริจิสักสักโล ข้าวโพดนึ่ง กระท้อน แก้วมังกร สดจากไร่...
     วันรุ่งขึ้นหากมีโอกาส ควรขึ้นเขาแผงม้า ชมกระทิงป่า (เป็นสัตว์อนุรักษ์ ตามแคมเปญ ททท Unseen) ควรทราบว่า กระทิงพวกนี้จะออกมากินโป่งเช้าตรุ่ ประมาณ 6.00 น และ รอบเย็น 18.00 น. บวกลบสัก 1 ชม. คลิกดูรายละเอียด เขาแผงม้า       เขื่อนลำพระเพลิง บรรยากาศยามเย็นสวยงามไม่น้อยเมื่อแสงอาทิตย์ตกหลังเขาแสงทองอ่อนๆ กำลังลับขอบฟ้า โชคดีที่มีลมอ่อนๆโชยพัดมา บนผืนน้ำอันกว้างไกล มันก็สวยไปอีกแบบน้อ...
     รีสอร์ท แถววังน้ำเขียวนี้ มักจะปลูกไร่องุ่น ควบคู่ไปกับรีสอร์ท เนื่องจากอากาศเย็นตลอดทั้งปี องุ่นจึงเจริญเติบโตได้ผลผลิต OTOP ประจำอำเภอวังน้ำเขียว สินค้า ชอปปิ้งอื่น เช่น เห็ดหอม เห็ดนางรมหลววง (ออริจิ) เห็ดหลินจือ ผักเมืองปลอดสารพษ ที่ไร่ ลุงไกร ฟาร์มเห็ดหอมบ้านบุไทร ฟาร์มกล้วยไม้ ฟาร์มดอกหน้าวัว ฯลฯ
"วังน้ำเขียว" สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ คุณเคยไปมาแล้วหรือยัง  ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เพียง 2 – 3 ชม. เดินทางจากผ่านจ.ฉะเชิงเทรา เข้า อ.นาดี(ปราจีนบุรี) บนทางหลวงสาย 304 คลิ๊ก การเดินทางวังน้ำเขียว
     วังน้ำเขียว ผมเองวางแผนที่จะเดินทางมาสำรวจที่นี่อยู่หลายครั้งแต่มีอันต้องยกเลิกไป ความเป็นธรรมชาติโดยภูมิประเทศ ที่ราบสูงเนินเขาหากมองทางอากาศคงจะเป็นที่ทิวเขาลูกๆ สลับกับที่ราบ คงจะสวยไม่น้อย วังน้ำเขียวอยู่อีกด้านของเทือกเขาใหญ่ อากาศเย็นจากประเทศจีนจะพัดมาช่วงปลายฝน ผ่านมาทางที่ราบอีสานกระทบกับเทือกเขาใหญ่ ทำให้บริเวณ วังน้ำเขียวแห่งนี้เย็นตลอดทั้งปี ห้องพักรีสอร์ทบางแห่งจึงไม่จำเป็นต้องมีแอร์ เช่น วิลเลจฟาร์ม หากชอบบรรยากาศริมเขา อย่างเขาแผงม้า ก็ต้อง วิลล่าเขาแผงม้า หากชอบบรรยากาศบนเนินและสนามกว้างต้องที่ อิมภูฮิลล์ หรือบ้านไร่คุณนาย หากเป็นหมู่คณะแล้วสองที่หลังนี้เหมาะที่จะทำกิจกรรมได้ (ชมภาพและบรรยากาศรีสอร์ท คลิ๊ก ที่พักวังน้ำเขียว) หลังจากที่ผมได้สำรวจรีสอร์ทั้ง 4-5 ที่นี้แล้ว       ผมได้เดินถ่ายรูปไร่อรุ่นที่กำลังแทงช่อ ออกผล ทั้งสีเขียว สีม่วงจากต้น ดู ไร่อรุ่น คลิก ฟาร์มเห็ด รึไม่พลาดแน่นอน กับภาพมาโคสวย แต่เที่ยวเย็นไปหน่อย แสงไม่ค่อยพอ ถ่ายได้ไม่ค่อยดีนัก ก่อนออกแถวไทยสามัคคี แวะตลาดปากทางพอจะหาซื้อพืชผลทางเกษตรได้ น้ำองุ่น เห็ดต่างๆ ส่วนผมขอเห็ดออริจิสักสักโล ข้าวโพดนึ่ง กระท้อน แก้วมังกร สดจากไร่...
     วันรุ่งขึ้นหากมีโอกาส ควรขึ้นเขาแผงม้า ชมกระทิงป่า (เป็นสัตว์อนุรักษ์ ตามแคมเปญ ททท Unseen) ควรทราบว่า กระทิงพวกนี้จะออกมากินโป่งเช้าตรุ่ ประมาณ 6.00 น และ รอบเย็น 18.00 น. บวกลบสัก 1 ชม. คลิกดูรายละเอียด เขาแผงม้า       เขื่อนลำพระเพลิง บรรยากาศยามเย็นสวยงามไม่น้อยเมื่อแสงอาทิตย์ตกหลังเขาแสงทองอ่อนๆ กำลังลับขอบฟ้า โชคดีที่มีลมอ่อนๆโชยพัดมา บนผืนน้ำอันกว้างไกล มันก็สวยไปอีกแบบน้อ...
     รีสอร์ท แถววังน้ำเขียวนี้ มักจะปลูกไร่องุ่น ควบคู่ไปกับรีสอร์ท เนื่องจากอากาศเย็นตลอดทั้งปี องุ่นจึงเจริญเติบโตได้ผลผลิต OTOP ประจำอำเภอวังน้ำเขียว สินค้า ชอปปิ้งอื่น เช่น เห็ดหอม เห็ดนางรมหลววง (ออริจิ) เห็ดหลินจือ ผักเมืองปลอดสารพษ ที่ไร่ ลุงไกร ฟาร์มเห็ดหอมบ้านบุไทร ฟาร์มกล้วยไม้ ฟาร์มดอกหน้าวัว ฯลฯ