วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบรมนามาภิไธยทองด้วง
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์สยาม
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์6 เมษายน พ.ศ. 2325
บรมราชาภิเษก13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ระยะครองราชย์27 ปี
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดประจำรัชกาลวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ20 มีนาคม พ.ศ. 2279
สวรรคต7 กันยายน พ.ศ. 2352
รวมพระชนมพรรษา 73 พรรษา
พระบรมราชชนกสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระบรมราชชนนีพระอัครชายา (ดาวเรือง)
พระมเหสีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระราชโอรส/ธิดา42 พระองค์
    
พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งถวาย[1]) รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และพระอัครชายา (ดาวเรือง หรือ หยก) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีรวม 5 พระองค์ ได้แก่
นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระอนุชาและพระขนิษฐาต่างพระชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่
เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมา คือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์[2] และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม[3]

รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี

ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษาและได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตามคำชักชวนของพระมหามนตรี (บุญมา) (ต่อมา คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) โดยทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "พระราชริน (พระราชวรินทร์)" เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และทรงย้ายนิวาสสถานมาอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระองค์และพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาอไภยรณฤทธิ์" จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้
หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพระฝางสำเร็จแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่าเจ้าพระยาจักรีแขก นั้นมิแกล้วกล้าในการสงคราม ดังนั้น จึงโปรดตั้งพระองค์ขึ้นเป็น "พระยายมราช" เสนาธิบดีกรมพระนครบาล โดยให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย เมื่อเจ้าพระยาจักรีแขกถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยาจักรี" อัครมหาเสนากรมมหาดไทย พร้อมทั้งโปรดให้เป็นแม่ทัพเพื่อไปตีกรุงกัมพูชา โดยสามารถตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองพุทไธเพชร (เมืองบันทายมาศ) ได้ เมื่อสิ้นสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดให้นักองค์รามาธิบดีไปครองเมืองพุทไธเพชรให้เป็นใหญ่ในกรุงกัมพูชา และมีพระดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาโกษาธิบดีอยู่ช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าเหตุการณ์จะสงบราบคาบก่อน
พระองค์เป็นแม่ทัพทำราชการสงครามกับพม่า เขมรและลาว จนมีความชอบในราชการมากมาย ดังนั้น จึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก" และทรงได้รับพระราชทานให้ทรงเสลี่ยงงากลั้นกลดและมีเครื่องยศเสมอยศเจ้าต่างกรม[4][5]
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2325 ได้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี คือ พระยาสรรค์ ได้ตั้งตัวเป็นกบฎ ขณะนั้นพระองค์ท่านเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จกลับจากกัมพูชา มาที่ กรุงธนบุรี แล้วปราบปรามกบฎและนำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปสำเร็จโทษ เหตุเพราะทรงมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการ "ทุบด้วยท่อนจันทน์" สมัยกรุงธนบุรีจึงสิ้นสุดลงในที่สุด

ปราบดาภิเษก

หลังจากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากที่พระองค์ทรงปราบปรามกบฎเรียบร้อยแล้ว ทางอาณาประชาราษฎร์ได้อัญเชิญเสด็จขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานยังวัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า "กรุงเทพมหานคร"

พระปรมาภิไธย

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 รูปอุณาโลม ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี
เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาษกรวงษ์ องค์บรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอักนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรบรมาธิเบศโลกเชฐวิสุทธิ รัตนมกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร"[6]
เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกลงในพระสุพรรณบัฏนี้เป็นพระปรมาภิไธยเดียวกับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง), สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ดังนั้น พระองค์จึงเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4"[7]
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระบรมนามาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"[7]
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1[8]
ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา "มหาราช" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"[9][10]

พระราชลัญจกร

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นตรางารูป "ปทุมอุณาโลม" หรือ "มหาอุณาโลม" หมายถึง ตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา
ตราอุณาโลมที่ใช้ตีประทับบนเงินพดด้วงมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต หรือ สังข์เวียนขวา มีลักษณะเป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง" อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2328ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[11][12]

พระราชสันตติวงศ์

เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ในตระกูลบางช้าง (ดู ณ บางช้าง) โดยมีพระราชโอรสสองพระองค์หนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554) แขวงบางช้างคือจังหวัดสมุทรสงคราม ในอดีตแขวงดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554)) ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามสมเด็จพระพันวษาทรงมีอีกพระนามว่าสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์

เรียงตามพระประสูติกาล

ประสูตินอกพระมหาเศวตฉัตร
พระนามพระมารดาประสูติสิ้นพระชนม์พระชันษารวม
1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี-สิ้นพระชนม์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา-
2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี-สิ้นพระชนม์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา-
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี-ปีกุนเอกศก จ.ศ. 1141-
4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายฉิมสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีวันพุธ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีกุนนพศก
จ.ศ. 1129
วันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีวอกฉศก
จ.ศ.1186
57 พรรษา
5. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าแจ่มกระจ่างฟ้าสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีปีขาลโทศก จ.ศ. 1132วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 1 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. 117038 พรรษา
6. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี-สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี-
7. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุ้ยสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีวันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะโรงเบญจศก จ.ศ. 1134วันพุธ เดือน 8 อุตราสาท ขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลูนพศก จ.ศ. 117945 พรรษา
8. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี-สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี-
9. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงเอี้ยงสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกานพศก
จ.ศ. 1139
วันศุกร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะแมเบญจศก จ.ศ. 118547 พรรษา
10. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากล้ายเจ้าจอมมารดาภิมสวนปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ.1140สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1-
ประสูติเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว
11. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงนุ่มเจ้าจอมมารดาปุยปีเถาะเบญจศก จ.ศ. 1145สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3-
12. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับทิมเจ้าจอมมารดาจันปีเถาะเบญจศก จ.ศ. 1145วันศุกร์ เดือน 7 แรม 6 ค่ำ ปีมะโรงโทศก
จ.ศ. 1182
38 พรรษา
13. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเจ้าจอมมารดาดวงปีมะโรงฉศก จ.ศ. 1146สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1-
14. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงผะอบเจ้าจอมมารดาภิมสวนปีมะโรงฉศก จ.ศ. 1146สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1-
15. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงพลับเจ้าจอมมารดาคุ้มปีมะเส็งสัปตศก จ.ศ. 1147ปีขาลสัปตศก จ.ศ. 122882 พรรษา
16. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายอภัยทัตเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
ธิดาพระยาจักรี เมืองนครศรีธรรมราช
วันอังคาร เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีมะเส็งสัปศก
จ.ศ. 1147
วันอังคาร เดือน 3 แรม 11 ค่ำ ปีระกานพศก จ.ศ. 119952 พรรษา
17. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายอรุโณทัยเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่
ธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่เมืองนคร)
ปีเถาะนพศก จ.ศ. 1169วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก จ.ศ. 119448 พรรษา
18. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับเจ้าจอมมารดาน้อย-วันอังคาร เดือน 5 แรม10 ค่ำ ปีระกาสัปตศก จ.ศ. 118739 พรรษา
19. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงธิดาเจ้าจอมมารดาเอมปีมะแมนพศก จ.ศ. 1149ปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ. 120052 พรรษา
20. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายคันธรสเจ้าจอมมารดาพุ่ม
ธิดาเจ้าพระยาวิเศษสุนทร (นาค นกเล็ก)
วันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1149วันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 13 ค่ำ ปีชวดอัฐศก
จ.ศ. 1178
30 พรรษา
21. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจงกลณีเจ้าจอมมารดาตานี
ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค)
ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 1150สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2-
22. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุริยาเจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่วันอังคาร เดือน 12 แรม 1 ค่ำปีระกาเอกศก
จ.ศ. 1151
วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลฉศก
จ.ศ.1216
66 พรรษา
23. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเกษรเจ้าจอมมารดาประทุมาปีระกาเอกศก จ.ศ. 1151สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2-
24. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงมณฑาเจ้าจอมมารดานิ่มปีจอโทศก จ.ศ. 1152วันพฤหัสบดีเดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้น 11 ค่ำ
ปีระกาตรีศก จ.ศ. 1223
72 พรรษา
25. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงมณีเจ้าจอมมารดาอู่
ธิดาพระยาเพชรบุรี (บุญรอด)
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4-
26. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงดวงสุดาเจ้าจอมมารดาน้อยปีจอโทศก จ.ศ. 1152สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4-
27. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจักจั่น (บางแห่งว่า พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี)เจ้าจอมมารดาอิ่ม ภายหลังได้เป็น ท้าววรจันทร์ฯ มีหน้าที่บังคับบัญชาท้าวนางทั่วทั้งพระราชวัง

ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2-
28. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายวาสุกรีเจ้าจอมมารดาจุ้ย
ธิดาพระราชาเศรษฐี
วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก
จ.ศ. 1152
วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก
จ.ศ. 1214
64 พรรษา
29. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายฉัตรเจ้าจอมมารดาตานี (เจ้าคุณวัง) ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) เกิดแต่ท่านผู้หญิงเดิมที่ถูกโจรฆ่าตายไปเมื่อครั้งกลับไปขนทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้กลับมาจากกรุงเก่าวันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก
จ.ศ. 1152
วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ปีขาลโทศก
จ.ศ. 1192
40 พรรษา
30. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุริยวงศ์เจ้าจอมมารดานวลวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
วันเสาร์ เดือนอ้าย แรม 2 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. 121563 พรรษา
31. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงอุบลเจ้าจอมมารดาทอง
ธิดาในท้าวเทพกระษัตรี วีรสตรีแห่งเมืองถลาง
วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3-
32. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงฉิมพลีเจ้าจอมมารดางิ้วปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1153วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. 121967 พรรษา
33. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายไกรสรเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ววันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
วันพุธ เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ.121057 พรรษา
34. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายดารากรเจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่วันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีชวดจัตวาศก
จ.ศ. 1154
ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 121057 พรรษา
35. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายดวงจักรเจ้าจอมมารดาปานวันจันทร์ เดือน 8 แรม 6 ค่ำ ปีชวดจัตวาศก
จ.ศ. 1154
อาทิตย์ เดือน 10 แรม 8 ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก จ.ศ. 120855 พรรษา
36. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศศิธรเจ้าจอมมารดาฉิมแมว
ซึ่งเป็นธิดาท้าววรจันทร์ (แจ่ม)
ปีขาลฉศก จ.ศ. 1156สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2-
37. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเรไรเจ้าจอมมารดาป้อม (ป้อมสีดา)
ธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง)
ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1157สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1-
38. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงกระษัตรีเจ้าจอมมารดานวมปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1158ปีชวดอัฐศก จ.ศ. 117820 พรรษา
39. พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระนามเดิม พระองค์เจ้าจันทบุรี)เจ้าจอมมารดาทองสุก
พระธิดาเจ้าอินทวงศ์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชขณะนั้น
ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160วันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 3 ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก
จ.ศ. 1200
41 พรรษา
40. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุทัศน์เจ้าจอมมารดากลิ่น
ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน)
วันพุธ เดือน 8 บุรพาสาฒ ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. 1160วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียนพศก จ.ศ. 120949 พรรษา
41. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุภาธรเจ้าจอมมารดาเพ็งเล็ก
พระธิดาเจ้านันทเสน พระเจ้าเวียงจันทน์
ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 241 พรรษา
42. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุดเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่
ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน)
ปีมะแมเอกศก จ.ศ. 1161สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 349 พรรษา

ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

  • พ.ศ. 2279
    • 20 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม ทองด้วง
  • พ.ศ. 2326
    • กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    • ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
    • เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร
    • สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • พ.ศ. 2328
    • งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑียรสำเร็จเสร็จสิ้น
    • พระราชทานนามของราชธานีใหม่
  • พ.ศ. 2333
    • องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จและจัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย
  • พ.ศ. 2339
    • งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
  • พ.ศ. 2352
    • ได้ริเริ่มให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
    • เสด็จสวรรคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น