วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัตว์บก

สัตว์บก เป็นสิ่งมีชีวิต ที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน มีทั้ง 2ขาและ 4ขาหรือมากกว่านั้น ไม่นับคน จะอาศัยใช้ชีวิตอยู่บนบก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ ๆ คือ พวกที่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ไก่ พวกออกลูกเป็นตัวเช่น แมว สุนัข ช้าง พวกที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่น จิงโจ้ และพวกที่มีรก โดยส่วนใหญ่สัตว์ตัวเมียมีนมให้ลูกกิน

สัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวางผา (Nemorhaedus griseus) 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด รวมเป็น 15 ชนิด[1] ได้แก่
  1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
  2. แรด (Rhinoceros sondaicus)
  3. กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
  4. กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
  5. ควายป่า (Bubalus bubalis)
  6. ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
  7. สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
  8. เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
  9. กวางผา (Naemorhedus griseus)
  10. นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
  11. นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
  12. แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
  13. สมเสร็จ (Tapirus indicus)
  14. เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
  15. พะยูน หรือหมูน้ำ (Dugong dugon)

วันไหว้ครู

พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง
การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรม เช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] พิธีไหว้ครูในโรงเรียน



โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน

[แก้] ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู

ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่
  1. หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์
  2. ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
  3. ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
  4. ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

[แก้] วิธีจัดงาน

การพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

[แก้] สถานที่

  1. โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อวางพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
  2. หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
  3. ที่นั่งประธาน และ คณาจารย์ จัดไว้ข้าง ๆ ที่บูชา
  4. ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน

[แก้] สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู

  1. พานดอกไม้ ประกอบด้วยพืชชนิดต่าง ๆ เช่น หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จะใส่เท่าไรก็ตามให้สวยงาม พอควร
  2. ธูปเทียน

[แก้] พิธีการ

  1. เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน
  2. ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
  3. เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล
  4. หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
  5. เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
  6. ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
  7. ให้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน

เอดส์

Red Ribbon.svg
ริบบิ้นสีแดง สัญลักษณ์ของกลุ่มช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์
การจำแนกโรคหรืออาการ และแหล่งข้อมูลอื่น
ICD-10
ICD-9042
DiseasesDB5938
MedlinePlus000594
eMedicineemerg/253 
MeSHD000163

เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม[1] (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้การติดเชื้อโรคได้ฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิต

พระมหากษัตริย์ไทย

พระมหากษัตริย์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์
แห่งราชอาณาจักรไทย
ราชาธิปไตย
Thai Garuda emblem.svg
ตราแผ่นดินของไทย
Bhumibol Adulyadej 2010-9-29 2 cropped.jpg
อยู่ในราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ตั้งแต่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

พระอิสริยยศ:
ผู้สืบทอดราชสมบัติ:สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ปฐมกษัตริย์:พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
สถาปนา:พ.ศ. 1792

พระมหากษัตริย์ไทย หมายความถึงราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรของคนไทยในอดีตจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นผู้นำราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน มีที่ประทับอย่างเป็นทางการ คือ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เนื่องจากราชอาณาจักรไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระองค์จะทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก
พระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยพระองค์ปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (รัชกาลที่ 9) ทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก โดยพระราชอำนาจของพระองค์จะใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็ยังทรงดำรงฐานะเป็น จอมทัพไทย และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในพระบรมราชานุมัติ และการพระราชทานอภัยโทษ (ตามกฎหมาย) รวมถึงทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก
ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ฉบับถาวร พ.ศ. 2475) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ได้บัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไว้ว่า "[พระองค์] ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่สามารถถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ[ต้องการอ้างอิง] อีกทั้งยังได้รับความคุ้มครองอยู่ภายใต้กฎหมายอาญาอันเป็นที่รู้จักกันในประเทศตะวันตกว่า กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้การประทุษร้าย การดูหมิ่น การหมิ่นประมาทและการอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าความผิดตามกฎหมาย[1]
ทั้งนี้ รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงพระองค์ปัจจุบันของพระมหากษัตริย์ไทยหรือตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ อันเป็นไปตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักรราช 2467 โดยรูปแบบของการสืบราชสันติวงศ์จะสืบทอดจากพระราชบิดาไปสู่พระราชบุตรตามสิทธิของบุตรคนแรกที่เป็นชายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 หรือ ค.ศ. 2007) ได้บัญญัติเพิ่มเติมจากกฎมณเฑียรบาล โดยให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสันติวงศ์ได้ด้วยเช่นกัน

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

[แก้] จุดกำเนิด

รูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยของประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาตลอด 800 ปี ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สามารถรวบรวมดินแดนจนเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ แนวคิดการปกครองแบบราชาธิปไตยสมัยแรกเริ่มตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาฮินดู (ซึ่งรับเข้ามาจากจักรวรรดิขะแมร์) และหลักความเชื่อแบบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งแนวคิดแรกนั้นมาจากวรรณะ "กษัตริย์" ของศาสนาฮินดู เนื่องจากพระมหากษัตริย์จะได้รับอำนาจมาจากอำนาจทางทหาร ส่วนแนวคิดที่สองมาจากแนวคิด "ธรรมราชา" ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท หลังจากที่พระพทุธศาสนาเข้ามาในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 อันเป็นแนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ควรจะปกครองประชาชนโดยธรรม
สมัยกรุงสุโขทัย มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์จะมีพระนามขึ้นต้นว่า "พ่อขุน" มีความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมาก หลังจากรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีพระนามขึ้นต้นว่า "พญา" เพื่อยกฐานะกษัตริย์ให้สูงขึ้น ในรัชกาลพญาลิไท พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เฟื่องฟูมาก จึงมีแนวคิด ธรรมราชา ตามคติพุทธขึ้นมา ทำให้พระนามขึ้นต้นของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลพญาลิไทเรียกว่า "พระมหาธรรมราชา" ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับคติพราหมณ์มาจากขอม เรียกว่า เทวราชา หรือ สมมติเทพ หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพมาอวตารเพื่อปกครองมวลมนุษย์ ทำให้ชนชั้นกษัตริย์มีสิทธิอำนาจมากที่สุดในอาณาจักรและห่างเหินจากชนชั้นประชาชนมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง] คำขึ้นต้นพระนามเรียกว่า "สมเด็จ" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจด้านการปกครองถูกโอนมาเป็นของรัฐบาลพลเรือนและทหาร พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

เครื่องดนตรีสากล

ดนตรีสากล เป็นดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตะวันตก มีการบันทึกเพลงเป็นสัญลักษณ์ ที่เรียกว่า โน้ตสากล ต่อมามีการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก มีการนำเพลงและเครื่องดนตรีจากต่างประเทศซึ่งเป็นที่นิยมกัน มาใช้ในประเทศ มีการใช้โน้ตสากล จังหวะเพลงที่เป็นสากล

 เครื่องดนตรีสากล

กีตาร์, กลองชุด, เบส, ไวโอลิน, ทรัมเป็ต, ออร์แกน, ฟลุต, อิเล็กโทน,เป็นต้น
ดูเพิ่มเติมที่ : เครื่องดนตรีสากล ดนตรีสากล

 จังหวะสากล

วอลท์, รุมบ้า, ร็อก, ดิสโก้, ชะชะช่า
ดูเพิ่มเติมที่ จังหวะสากล ระวังระเบิด

ดนตรีไทย

ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า

เนื้อหา

[ซ่อน]


ประวัติ

ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล
สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม

[แก้] ลักษณะ

ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

[แก้] ลีลาดนตรีไทย

ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่
ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

[แก้] วงดนตรีไทย

ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

[แก้] เครื่องดนตรีไทย

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ThaiHistory Placide CarteDuRoyaumeDeSiam.png
ประวัติศาสตร์ไทย
ThaiHistory SiamPlacide.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ.
ยุคอาณาจักร
สุวรรณภูมิ
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5
โจฬะ
พุทธศตวรรษที่ 2-17
สุวรรณโคมคำ
พศว. 4-5
ทวารวดี-นครชัยศรี
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15
โยนกนาคพันธุ์
638-1088
คันธุลี
994-1202
 เวียงปรึกษา
1090-1181
ศรีวิชัย
1202-1758
 ละโว้
1191 -1470
หิรัญเงินยางฯ
1181 - 1805
 หริภุญชัย
1206-1835
 
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470
 สุพรรณภูมิ
ละโว้
ตามพรลิงค์
 
พริบพรี
นครศรีธรรมราช
 สุโขทัย
1792-1981
พะเยา
1190-2011
เชียงราย
1805-1835
ล้านนา
1835-2101
อยุธยา (1)
พ.ศ. 1893-2112 
  สค.ตะเบ็งชเวตี้ 
  สค.ช้างเผือก
  เสียกรุงครั้งที่ 1
   พ.ศ. 2112
พิษณุโลก
2106-2112
ล้านนาของพม่า
2101-2317
กรุงศรีอยุธยา (2)
พ.ศ. 2112-2310
เสียกรุงครั้งที่ 2
สภาพจลาจล
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310-2325
ล้านนาของสยาม
พ.ศ. 2317-2442
  นครเชียงใหม่
  
  
กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
  สงครามเก้าทัพ
  อานามสยามยุทธ
  การเสียดินแดน
  มณฑลเทศาภิบาล
  สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2
 
ยุครัฐประชาชาติ
ประเทศไทย
  ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
  เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ
สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2485-2489
 
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548