วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อะพอลโล 11


อะพอลโล 11 (อังกฤษApoll XI) เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนผิวของดวงจันทร์สำเร็จขององค์การนาซา อพอลโล 11 ถูกส่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโดยจรวดแซทเทิร์น 5 (Saturn V) ที่ฐานยิงจรวจที่แหลมเคเนดี รัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 อีกสี่วันต่อมาก็สามารถลงจอดบริเวณ "ทะเลแห่งความเงียบสงบ” (Mare Tranquilitatis) ได้สำเร็จ ลูกเรือประกอบด้วย นีล อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) ผู้บังคับการ, เอดวิน อัลดริน (Adwin Aldrin) และ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) อาร์มสตรองเป็นมนุษย์คนแรกที่ลงมาประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์ ตามมาด้วยอัลดริน ทั้งสองได้ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว กระจกเลเซอร์เครื่องวัด "ลมสุริยะ" และเก็บตัวอย่างหินและดิน 20.8 กิโลกรัม นำกลับโลก รวมเวลาอยู่บนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 36 นาที ใช้เวลานับตั้งแต่ออกเดินทางจนกลับถึงโลก 195 ชั่วโมง 18 นาที 35 วินาที กลับถึงโลกในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานอวกาศอะพอลโล 11 เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการอพอลโล (Apollo Project) ซึ่งเกิดจากความปรารถนาของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ที่ต้องการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ให้สำเร็จ และกลับมายังโลกอย่างปลอดภัย

[แก้]ข้อโต้แย้ง

หลายปีหลังจากโครงการนี้จบลง ได้มีผู้คนออกมาโต้แย้งว่า การเหยียบดวงจันทร์ครั้งนี้ของอาร์มสตรองเป็นเรื่องโกหก ภาพที่เห็นนั้นถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอ โดยให้เหตุผลว่า ภาพที่ได้คมชัดมีคุณภาพดีเกินกว่าจะถ่ายในบรรยากาศขอดวงจันทร์ ธงชาติสหรัฐฯ โบกสะบัดทั้ง ๆ ที่บนดวงจันทร์ไม่มีลม และรอยเท้าของมนุษย์ในอวกาศไม่น่าจะเด่นชัดขนาดนั้น ฯลฯ แต่นาซาและนักวิทยาศาสตร์ต่างออกมายืนยันอีกครั้งและอธิบายว่าเป็นเพราะ บนดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศคอยกรองแสง แดดจึงจ้ากว่าทุกแห่งในโลก บังคับให้ต้องใช้รูรับแสงเล็กมาก และความเร็วชัตเตอร์สูงมาก เราจึงเห็นฟ้ามืดในภาพจากดวงจันทร์ทุกภาพ ส่วนเสาธงที่ปักอยู่บนดวงจันทร์มีราวสำหรับแขวนธงเพื่อไม่ให้ธงห้อยแฟบติดเสา แต่ทำราวแขวนให้สั้นกว่าผืนธงเล็กน้อย ธงจะได้ย่นนิดหน่อย ดูเหมือนกำลังโบกสะบัด และประเด็นเรื่องรอยเท้า แม้บรรยากาศบนดวงจันทร์จะแห้งสนิท แต่ฝุ่นบนดวงจันทร์ต่างจากฝุ่นบนโลก คือเป็นเม็ดฝุ่นละเอียดยิบที่ผิวหยาบและรูปทรงไม่สม่ำเสมอ เพราะผิวดวงจันทร์ถูกอุกกาบาตพุ่งชนนับครั้งไม่ถ้วน เมื่อเม็ดฝุ่นถูกเหยียบ ผิวหน้าของมันจะสานเกี่ยวติดกันทั้งแห้งอย่างนั้น จึงคงรูปอยู่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น