วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จดหมายถึงพ่อแม่


กราบเท้าคุณแม่ที่เคารพ
           แม่สบายดีนะครับ ป่านนี้ที่บ้านเราคงดังระงมไปด้วยเสียงหรีดหริ่งเรไรคลอเคล้าไปกับบทเพลงแห่งสายฝนนะครับแม่ เจ้าต้นกล้าที่หว่านไว้ในแปลงเพาะ ตอนนี้คงถูกแม่จับพวกมันปักดำลงไปในแปลงนาจนเต็มท้องทุ่งนาเราแล้วสินะ  เหนื่อยไหมแม่?  เหนื่อยก็พักผ่อนบ้างนะ ลูกเป็นห่วง อันที่จริง ลูกอยากเดินทางไปบอกแม่ใกล้ๆ ด้วยตัวของลูกเอง แต่ภาระหน้าที่และเส้นทางอันยาวไกล จึงทำให้ลูกนั้นได้แต่เขียนถ้อยคำมาหาแม่เท่านั้น  
          ปีนี้แม่ก็อายุหกสิบแล้วสินะแม่นะ ลูกรู้สึกว่าเวลามันเดินผ่านหน้าเราไปเร็วเหลือเกิน เร็วเกินจนบางครั้งบางทีเราแทบตั้งตัวไม่ทัน กี่ปีแล้วนะแม่ ที่สองมือของแม่ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์ยาก กี่ปีที่แม่ทนสู้อุตส่าห์เลี้ยงพวกเราสี่พี่น้องตั้งแต่เล็กๆ จนเติบโต ตั้งแต่พ่อสิ้นใจไปเมื่ออายุเพิ่งสามสิบกว่าปี ดูเหมือนภาระทั้งหมดจะตกลงบนบ่าของแม่ทั้งหมด คำโบราณท่านกล่าวไว้ว่า "ขาดพ่อเหมือนทอหัก ขาดแม่เหมือนแพแตก"  แต่แม่ก็พาประคองแพลำนี้ผ่านพ้นนาวาชีวิตช่วงนั้นมาได้ ตอนนี้ลูกๆ ของแม่คล้ายกับนกเจริญวัยที่มีปีกกล้าขาแข็งพอที่จะกระโจนออกจากคาคบโบกโบยบินไปสู่ฟ้ากว้าง แต่แม่ก็คือแม่ที่ยังห่วงใยลูกๆ ทุกคนสม่ำเสมอ
          แม่ครับ ถึงฟ้าจะกว้าง หนทางจะยาวไกลแค่ไหนหรือเวลาจะผ่านไปนานสักเท่าใด ขอให้แม่รู้ไว้เถอะว่า ลูกๆ ของแม่ยังเป็นลูกที่ดีและเป็นห่วงแม่เสมอ คำสั่งสอนของแม่ คือ มรดกถ้อยคำอันประเสริฐของลูกๆ มิเคยลืมเลือนไปจากใจลูกได้หรอก ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงกล่อมลูกที่แม่เคยไกว่เปลพร้อมกับเห่กล่อมลูกเมื่อยังเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำผญาที่ทำให้ลูกได้คิดและมีกำลังใจ แม่เคยพูดสอนผมบ่อยๆ ว่า "คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั่งห่มเป็นพญา อย่าได้ลืมชาวนาผู้ขี่ควายคอนกล้า" ถ้อยคำเหล่านี้คล้ายดังเสาเข็มที่ตอกติดแน่นในจิตวิญญาณของผมแล้วครับแม่
         แม่ครับ เมื่อผมนึกถึงแม่ทีไร ภาพอดีตก็จะหวนกลับมาหาผมทุกที  มันเป็นภาพบ้านหลังเก่าที่พวกเราแม่ลูกอยู่อาศัยกันพร้อมหน้า บ้านหลังนั้นตีฝาด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ หลังคาสังกะสีที่มีช่องระบายน้ำไหลอยู่กลางบ้านหลายรู (ผมยังจำตอนที่ผมปีนขึ้นไปบนขื่อเพื่อเอาตังเมไปอุดรูมันไว้ได้เลยครับแม่) เสาเรือนที่ทำด้วยไม้ทั้งต้นที่เหลือแต่แกนกลาง องศาบ้านทำมุมสี่สิบห้าองศาเหมือนกับบ้านข้างหนึ่งพิงกับกำแพงอากาศยังไงยังงั้นแหละ แต่ที่นั่นอบอวลไปด้วยรอยยิ้มและความสุขนะแม่ แม้บางครั้งบางทีพวกเราจะทะเลาะกันบ้าง แต่มันก็เป็นไปตามประสาพี่น้องท้องเดียวกัน ตอนนี้ภาพเหล่านั้นมันได้หายไปหมดแล้ว ไม่หลงเหลือแม้แต่เงาของอดีต บ้านเก่าถูกแทนที่ด้วยบ้านหลังใหม่ที่มั่นคงแข็งแรง  ลูกไม่ได้แก่ขึ้นนะแม่ จึงรำลึกถึงอดีตเหล่านี้ให้แม่ฟัง แต่ลูกอยากให้แม่รู้ว่า ลูกๆ ทุกคนยังรอวันที่จะโบยบินกลับไปสู่คาคบที่พวกเราได้จากมา กลับไปอยู่ดูแลแม่ กลับไปให้แม่อุ่นใจและหายห่วงหา อยู่เสมอนะแม่นะ
        "ความจนทำให้คนเป็นคนนะแม่นะ" ลูกหมายถึงครอบครัวของเรานะครับ แม่คงจำได้นะว่าครั้งหนึ่งที่ลูกกลับบ้าน คนข้างบ้านซึ่งเป็นแม่ของเพื่อนเก่าของลูก แม่เขาป่วยเป็นโรคเบาหวาน ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการ ไม่มีลูกคนใดสักคนของแกที่จะมาเฝ้าดูแลอยู่ใกล้ๆ  ตอนที่ผมซื้อผลไม้ไปเยี่ยมแก เห็นแต่คู่ชีวิตของแกเท่านั้น แกยังบ่นอย่างคนตรมใจกับผมว่าทำไมไม่เหมือนลูกๆ ของแม่ แล้วไม่นานแกก็จากไป ส่วนคู่ชีวิตของแกก็ปลงผมบวชหวังเอาร่มพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพราะที่พึ่งจากลูกๆ ของแกไม่มีแล้ว เหมือนกับน้ำบ่อสร้างที่เหือดแห้งไม่เหลือสักหยดพอให้ดื่มกิน เล่าแล้วเศร้าใจนะครับแม่ คงเป็นจริงอย่างคำเขาพูดเอาไว้นะครับแม่ ที่ว่า "แม่หนึ่งคนเลี้ยงลูกเป็นสิบๆ คนได้ แต่ลูกเป็นสิบๆ คน กลับเลี้ยงแม่คนเดี๋ยวไม่ได้" 
       แม่ไม่ต้องกังวลนะ ลูกขอสัญญาว่าจะดูแลและรักแม่ให้มากๆ ทำอย่างที่แม่ได้เฝ้าเลี้ยงดูพวกเรามาและเป็นห่วงเป็นใยพวกเรามาตลอด แต่มีสิ่งหนึ่งที่ลูกอยากขอแม่ไว้ คือว่า ลูกอยากให้แม่ปล่อยวางภาระงานทางบ้านเถอะ ไม่ต้องเอาใจไปยุ่งกับมันแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพี่สาวเถอะ ลูกอยากให้แม่เข้าวัดฟังธรรม เจริญสติภาวนา เหมือนกับตอนที่ผมยังบวชเรียน ตอนนั้นแม่เข้าวัดตลอดเลย แม่ครับ พุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "บุตรคนใดที่ทำตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ด้วยการยกท่านทั้งสองขึ้นขี่บนบ่า ป้อนข้าว ป้อนน้ำโดยไม่ขาด แม้ให้ท่านขี้ ท่านเยี่ยวลงบนบ่าของตน บุตรเหล่านั้นก็ไม่ได้ชื่อว่า ได้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ได้หมดไปไม่" การที่บุตรคนใดชักจูงให้พ่อแม่ได้พบพระธรรมของพระศาสดา บุตรผู้นั้นได้ชื่อว่า "อภิชาตบุตร"
      แม่ครับ "ชีวิตของคนเรานั้น การเกิดเป็นมนุษย์นั้นทำได้ยากยิ่งแล้ว แต่การเกิดมาแล้ว ได้พบพุทธศาสนานั้น ยากยิ่งกว่า" ลูกจึงอยากให้แม่ทำตามคำขอของลูกด้วยนะ
       สุดท้ายนี้ ลูกขอเอาถ้อยคำของ "คุณประภาส ชลศรานนท์ ในหนังสือเรื่อง "เชือกกล้วยมัดต้นกล้วย หน้า 147-148  ที่ว่า
.
"หากจะมีใครเปรยเปรียบให้รักแห่งเธอ
ยิ่งใหญ่แม้นมหาสมุทร
จงอย่าให้ฉันสดับ.....
มิเช่นนั้น....ณ โขดหินอันระบือว่ามีคลื่นคลั่งโถมถั่งใส่
ฉันจะไปกล่าวค้านมหานที
ว่าน้ำทะเลยังมีลงมีขึ้น..แต่รักแห่งเธอนั้นมิเคยลด
และหากจะมีใครอุปมาให้รักในใจเธอใหญ่ยิ่งเฉกท้องฟ้า
ขอจงอย่าเอ่ยกับฉัน.....
ประภาคารอันสูงเสียดที่จะหาได้ในพิภพจะนำฉันป่ายปีน
ขึ้นไปถกกับท้องฟ้าว่านภายังมีราตรีหลับใหล
แต่รักแห่งเธอมิเคยพัก
ความรักอันเป็นธรรมชาติในเธอควรเปรียบกับสิ่งใดหรือ
ที่ฉันจะยอมได้
หากต้องประนีประนอม
ลองอ้างเอ่ยกลับกันให้สิ่งยิ่งใหญ่เหล่านั้น
ยิ่งใหญ่เพียงรักของเธอดู
เปรียบท้องฟ้าว่าใหญ่ดังรักของเธอ
อุปมามหาสุมทรว่ากว้างเท่ารักจากเธอ
ถ้าเป็นดังนี้....ฉันอาจจะยอมได้"

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช


วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
ในวันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี

[แก้]กิจกรรม

ในมหาวิทยาลัยต่างๆ จะจัดให้มีการใส่ชุดพิธีการไปสักการะพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ 5 โดยมีวงโยธวาทิตจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUDMB) เป็นผู้นำวงโยธวาทิตของโรงเรียนอื่นๆ นอกจากนี้หน่วยราชการ พ่อค้า ประชาชน จากทั่วประเทศก็จะนำพวงมาลา หรือพุ่มดอกไม้ไปถวายสักการะ พร้อมทั้ง ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล อีกทั้งมีการจัดนิทรรศการวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการใช้ถุงยางอนามัย


ถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่สามารถนำมาซักแล้วใช้ใหม่ได้ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุทางความปลอดภัย จะประหยัดนำมา Recycle ใช้ใหม่ไม่ได้นะครับ รวมทั้งระหว่างมีเพศสัมพันธ์ถ้าได้ถอดกลางคันแล้ว ต้องทิ้งเลยครับ ดังนั้นจะต้องมีถุงยางมากกว่า1 อันเสมอไว้เป็นอะไหล่ ทีขับรถคุณยังมียางอะไหล่ แล้วใช้ถุงยางอนามัย ทำไมคุณไม่เตรียมอะไหล่ไว้ยามฉุกเฉินเช่น รั่ว หลุด แตก ล่ะครับ
การใช้ถุงยางอนามัยควรใช้ก่อนที่อวัยวะเพศทั้งสองฝ่ายจะสัมผัสกันเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการสวมจะต้องให้อวัยวะเพศชานแข็งตัวเต็มที่แล้ว จะใส่เองก็ได้ หรือจะให้ฝ่ายหญิงค่อยๆ บรรจงสวมใส่ให้โดยถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเล้าโลมทางเพศก็ได้
ขั้นตอนการใช้ถุงยางอนามัยมีดังนี้
1. บรรจงฉีกซองอย่างระมัดระวัง แล้วหยิบออกจากซองอย่างนิ่มนวล ระวังอย่าให้ถุงยางอนามัยสัมผัสกับเล็บหรือของประดับที่มีคม
2. ถุงยางอนามัยบรรจุในซองในลักษณะม้วนเป็นรูปวงแหวน ให้รอยม้วนอยู่ด้านนอก คลี่ถุงยางออกมาสัก 1 - 2 เซนติเมตร
3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบกระเปาะ(ติ่งตรงปลาย)ไล่ลมออก น้ำมาครอบปลายอวัยวะเพศ (ถ้าหนังหุ้มยาว ต้องรูดขึ้นไปให้พ้นปลายหัว)
4. ใช้อีกมือรูดถุงยางขึ้นไปจนถึงโคน (อีกมือยังคงบีบปลายติ่งอยู่)
5. ถ้าใส่ถูกต้อง ตรงติ่งต้องแบนไม่มีลมอยู่ภายใน (ถ้าเป็นแบบปลายมา ต้องเหลือปลายถุงยางไว้สัก หนึ่งเซ็นติเมตร)ทั้งนี้เพื่อป้องกันถุงยางอนามัยแตก
6. ถ้าความหล่อลื่นไม่พอ ก็สามารถทาสารหล่อลื่นเพิ่มเติมได้ แต่ต้องหลังจากสวมใส่แล้ว และสารหล่อลื่นที่ใช้ ต้องเป็นสารที่มีส่วนผสมเป็นน้ำ หรือซิลิโคน เช่น ky - jelly อย่ามักง่าย ใช้วาสลินโดยเด็ดขาด เพราะวาสลินเป็นเจลที่มี petroleum เป็นส่วนประกอบ
7. หลังจากมังกรพ่นพิษ ห้ามรอดูผลงาน ห้ามแช่ ต้องรีบถอย ถอนสมอโดยเร็ว ก่อนที่นกเขาจะหลับ ไม่งั้นถุงยางจะหลุดค้างคาในถ้ำ
8. ตอนถอนสมอ มือต้องจับขอบปลายส่วนเปิดไว้ด้วย ไม่งั้นถุงยางอาจถูกหนีบออกแต่ตัว แต่เสื้อหลุดได้ และเมื่อออกมาแล้ว ต้องระมัดระวังมืออย่าไปโดนด้านนอกของถุงยางที่มีสารคัดหลั่งของฝ่ายหญิงอยู่ อาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ (กรณีมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยา)
9. เมื่อถอดออกแล้ว จะทดสอบรอยรั่วได้โดยเอาไปรองน้ำจากก๊อกใส่ถุงยางที่ใช้แล้ว ถ้ารั่วก็จะเห็นได้
ภาพข้างล่างนี้ได้จากหนังสือหัตถการทางสูติศาสตร์และนรีเวช โดย
ศาสตราจารย์นายแพทย์เยื้อน ตันนิรันดร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำแนะนำ1. ถุงยางอนามัยต้องบรรจุในซองซึ่งอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีรอยฉีกขาดหรือรอยรั่ว และยังไม่หมดอายุ
2. กระดาษทิชชู
ข้อควรระวัง
ถุงยางอนามัยบรรจุในซองที่รั่ว หรือหมดอายุ
คำแนะนำใช้มือฉีกซองถุงยางอนามัย ให้สังเกตว่าถุงยางอนามัยยังอยู่ในสภาพดี (โดยคลี่ออกไม่เกิน 1 นิ้วฟุต)
ข้อควรระวัง
ใช้กรรไกรหรือมีดตัดซองถุงยางอนามัย อาจทำให้ถุงยางอนามัยขาด
คำแนะนำ1. สวมถุงยางอนามัย เมื่ออวัยวะแข็งเต็มที่
2. จับถุงยางอยามัยด้านที่จะรูดอยู่ด้านนอก โดยคลี่ถุงยางอนามัย ไม่เกิน 1 นิ้วฟุต
ข้อควรระวัง
1. สวมถุงยางตอนยังไม่แข็งเต็มที่
2. จับถุงยางอนามัยผิดด้าน
คำแนะนำบีบกระเปาะถุงยางอนามัยเพื่อไล่ลม ต้องบีบไว้จนใส่ถุงยางอนามัยเสร็จ
ข้อควรระวัง
อย่าลืมบีบไล่ลมนะครับ
คำแนะนำใช้มืออีกข้างรูดคลี่ถุงยางออกจนสุดถึงโคน โดยต้องปล่อยให้มีที่ว่างสุญญากาศระหว่างปลายอวัยวะกับกระเปาะถุงยาง
ข้อควรระวัง
ไม่ต้องรูดจนสุดกระเปาะจนไม่มีช่องว่าง
คำแนะนำ1. ภายหลังหลั่งน้ำอสุจิแล้ว ให้รีบถอนอวัยวะออก พร้อมจับขอบตรงโคนด้วย ไม่งั้น ตัวออกแต่ปลอกค้างข้างใน
2. ใช้กระดาษทิชชูพันรอบโคน โดยไม่ให้สัมผัสกับน้ำจากช่องคลอด แล้วรูดถุงยางออกโดยอาจใช้นิ้วเกี่ยวด้านในของขอบถุงยาง
ข้อควรระวัง
1. อย่าหลับจนปล่อยให้อวัยวะอ่อนตัว
2. ระวังน้ำจากช่องคลอดเปื้อนมือหรืออวัยวะ
คำแนะนำ1. การทิ้งควรทิ้งในถังขยะ หรือที่ระบุให้ทิ้ง หรือจะเอาไปเผา หรือฝังก็ได้
2. อย่าทิ้งลงชักโครก ชักโครกจะตันได้
ข้อควรระวัง
ระวังน้ำจากช่องคลอดเปื้อนมือหรืออวัยวะ

แพ้ถุงยางอนามัย
การแพ้ถุงยางอนามัย เกิดได้ แต่ไม่บ่อยนัก (ราว 7 %) อาจเกิดจากการแพ้โปรตีนในตัวยางธรรมชาติ หรือสารที่ผสมเพื่อผลิตยางธรรมชาติ หรือแพ้สารเคมีที่นำมาเคลือบถุงยางก็ได้ อาการแพ้ก็เหมือนการแพ้แบบสัมผัสทั่วๆไป คือมีผื่น คัน ระคายเคือง เป็นได้ทั้งชายและหญิง
กรณีที่แพ้ตัวยางธรรมชาติ ก็มีถุงยางอื่นให้เลือก เป็นถุงยางพลาสติก คือไม่ได้ทำจากยางธรรมชาติ แต่ทำจาก polyurethane

โดย....... นายแพทย์รุ่งโรจน์ ตรีนิติ
[ ที่มา... http://www.clinicrak.com ]
ทางเวบคอนดอมไทยมีวิธีใส่ถุงยางแบบใหม่มาให้เพิ่มเติมค่ะ สำหรับมัดใจสามี ....!!!

สุริยวิถี


สุริยวิถี คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5°
เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมฟ้า
สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก)
จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้

วัน


วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น[1] ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที
คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วันไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษโบราณ dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่นๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่นdies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไทย

นิยาม

คำจำกัดความของ วัน นั้นมีความแตกต่างออกไปในแต่ละแขนงความรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

[แก้]หน่วยเอสไอ

1 วัน เท่ากับ 86,400 วินาที ซึ่งมีการให้ความหมายของวินาทีไว้ว่า
... ช่วงเวลา 9,192,631,770 รอบของการแผ่กัมมันตภาพรังสี ซึ่งแต่ละรอบตรงกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงาน จากสถานะกระตุ้นไปเป็นสถานะพื้นของอะตอม ซีเซียม-133 ...
นั่นหมายความว่า หน่วยวันในระบบเอสไอจะเท่ากับการแผ่รังสี 794,243,384,928,000 รอบของอะตอมดังกล่าว
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการแนะนำว่าควรมีการเพิ่มตำแหน่งทศนิยมของหน่วยวันในดาราศาสตร์ ให้ถึง 4-5 หลัก ลงไปในหน่วยเอสไอ แต่ก็ได้ถูกยกเลิกไป[ต้องการอ้างอิง]

[แก้]ดาราศาสตร์

สำหรับดาวดวงหนึ่ง การนิยามความหมายของวันมีอยู่สองอย่างคือ
  1. Solar day เป็นช่วงเวลาที่ดาวหนึ่งๆ หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบโดยอ้างอิงกับดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตัวเอง ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. Sidereal day เป็นช่วงเวลาที่ดาวหนึ่งๆ หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบโดยอ้างอิงกับดาวอื่นที่อยู่ไกลเทียบเท่าอนันต์ (สำหรับโลกคือ 23.934 ชั่วโมง) นิยามนี้สามารถใช้วัดจำนวนวันของตัวดาวฤกษ์เองได้

[แก้]แบบไม่เป็นทางการ

คำว่า วัน สามารถอ้างถึงแนวความคิดในการกำหนดคำนิยามได้หลากหลาย รวมทั้งแนวความคิดต่อไปนี้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ในส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเองก็ต้องมีการเตรียมการในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นเดียวกัน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทุกท่าน จะพยายามหาวิธีป้องกันให้กับโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ อย่างสุดความสามารถครับ
ณ ตอนนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดครับ

สำหรับการวัดสถิติระดับน้ำนั้น ในประเทศไทย มีการบันทึกสถิติที่เป็นหลักฐานชัดเจนไม่ต่ำกว่าสมัยรัชกาลที่ ๓

ที่คลองเมืองด้านเหนือของพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีหลักศิลา ที่ใช้วัดระดับน้ำ และจดบันทึกเอาไว้เป็นสถิติทุกปี หลักนี้ สันนิษฐานว่า ทำไว้ตั้งแต่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สาเหตุที่ทำหลักวัดระดับน้ำเอาไว้ก็เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การเพาะปลูกนั้นต้องอาศัยข้อมูลระดับน้ำในแต่ละปี เพื่อเตรียมการคาดคะเนล่วงหน้า รวมทั้งเป็นการประเมินสถานการณ์อุทกภัย ก่อนที่น้ำจะไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานคร

สถิติที่ได้จากหลักหินนั้น จะถูกจะบันทึกเป็นเอกสารทางราชการ และบันทึกลงบนแผ่นกระดานที่จำลองให้เหมือนกับเป็นหลักวัดระดับน้ำ ที่เก็บรักษาไว้ในกรุงเทพมหานคร

หลักวัดน้ำจำลองหลักนี้ เดิมเก็บรักษาอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ต่อมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ขอมาดูแลรักษาเพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านอุทกศาสตร์ และการจัดการน้ำ ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ

 


ชื่อวัตถุ : หลักบันทึกระดับน้ำประดับมุก ชนิด : ไม้ลงรักประดับมุก ขนาด : กว้าง ๔๓ เซนติเมตร สูง ๒๕๐ เซนติเมตร อายุสมัย : รัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ ๔-๕ ลักษณะ : เป็นหลักไม้ลงรักดำ กึ่งกลางหลัก ด้านหน้าประดับมุกเป็นแถบยาวตลอดความสูงของหลักแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองด้าน ด้านหนึ่งบอกปีพุทธศักราช ด้านหนึ่งแสดงมาตราวัดระดับน้ำมีหน่วยเป็นศอก ตั้งแต่ ๑ ศอก ไปจนถึง ๖ ศอก เป้นการบันทึกสถิติระดับน้ำตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๓๙๓ (ปลายรัชกาลที่ ๓) เป็นต้นมา ประวัติ : จำลองจากหลักหินวัดระดับน้ำที่คลองเมือง ด้านเหนือพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าจำลองไว้เป้นการบันทึกทางราชการ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศิลปะรัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร http://www.facebook.com/notes/national-museum-bangkok-national-museum-bangkok-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ-พระนคร/หลักฐานทางประวัติศาสตร์-ด้านการจัดการน้ำ-ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-ในพิพิธภัณฑสถา/247527305299503


ชื่อวัตถุ           : หลักบันทึกระดับน้ำประดับมุก
ชนิด              : ไม้ลงรักประดับมุก
ขนาด             : กว้าง ๔๓ เซนติเมตร สูง ๒๕๐ เซนติเมตร
อายุสมัย          : รัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ ๔-๕
ลักษณะ          : เป็นหลักไม้ลงรักดำ กึ่งกลางหลัก ด้านหน้าประดับมุกเป็นแถบยาวตลอดความสูงของหลักแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองด้าน ด้านหนึ่งบอกปีพุทธศักราช ด้านหนึ่งแสดงมาตราวัดระดับน้ำมีหน่วยเป็นศอก ตั้งแต่ ๑ ศอก ไปจนถึง ๖ ศอก เป้นการบันทึกสถิติระดับน้ำตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๓๙๓ (ปลายรัชกาลที่ ๓) เป็นต้นมา
ประวัติ           : จำลองจากหลักหินวัดระดับน้ำที่คลองเมือง ด้านเหนือพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าจำลองไว้เป็นการบันทึกทางราชการ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศิลปะรัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี


ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี

สภาพทั่วไปก่อนการก่อตั้งกรุงธนบุรี
                กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่ 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) ในระยะเวลาอันยาวนานนี้กรุงศรีอยุธยาได้ก้าวจากการเป็นอาณาจักรเล็กๆ มาเป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ตลอดจนศาสนา วัฒนธรรม ศิลปกรรมต่างๆ ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลงตามลำดับตั้งแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง เกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้นระหว่างพระราชวงศ์และขุนนาง เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่แตกความสามัคคีแย่งชิงอำนาจกันเอง ทำให้กำลังทหารแยกออกเป็นกลุ่มๆ ยิ่งบ้านเมืองว่างศึกสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน กองทัพก็ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะสู้รบ พระมหากษัตริย์เองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าเอกทัศ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ทรงพระปรีชาสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่ศัตรูของไทยคือ พม่ามีกำลังและอำนาจมากขึ้นภายใต้พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์อลองพญา
                ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2310 ได้เกิดมีการกบฏขึ้นในหัวเมืองมอญ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองมอญที่เมืองมะริดและตะนาวศรี แล้วเคลื่อนทัพเข้ามาในดินแดนไทยทางด่านสิงขรโดยปราศจาการต่อต้านจากฝ่ายไทย จนสามารถเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาได้ ถ้าจะวิเคราะห์สงครามครั้งนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของพม่าแต่เดิมนั้น เพียงเพื่อต้องการปราบปรามพวกกบฏชาวมอญ ซึ่งหนีมาอยู่ที่เมืองมะริดและตะนาวศรีเท่านั้น ยังมิได้ตั้งใจจะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อพม่าสามารถตีเมืองมะริดและตะนาวศรีได้อย่างง่ายดาย โดยฝ่ายไทยมิได้เตรียมการต่อสู้แต่อย่างใดแสดงถึงความอ่อนแอของไทย พม่าจึงตีหัวเมืองไทยต่อเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงราชธานี
                ในการรับศึกพม่าครั้งนี้ พระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงแสดงความสามารถในด้านการบัญชาการรบเลย ส่วนแม่ทัพนายกองของไทยก็อ่อนแอไม่สามารถต้านทานทัพพม่าได้ แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถมีความรักชาติบ้านเมือง ก็ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบจึงเกิดความท้อถอย ดังเช่นพระยากตาก (สิน) ถึงกับตัดสินใจนำทหารประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปทางทิศตะวันออกเพื่อรวบรวมกำลังมาต่อสู้พม่า ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาต้องสูญเสียเอกราชแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 ซึ่งพม่ามารบพุ่งอย่างโจร เพราะพม่าไม่ได้คิดจะรักษาเมืองไทยไว้เป็นเมืองขึ้น หากแต่ต้องการจะริบเอาทรัพย์สมบัติและกวาดต้อนผู้คนเป็นเชลยไปใช้สอยในเมืองพม่า ด้วยเหตุนี้ เมื่อพม่าตีเมืองไหนได้ก็เผาเสียทั้งเมืองน้อยเมืองใหญ่ตลอดจนราชธานี แล้วเลิกทัพกลับไป ดังนั้นการเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ บ้านเมืองจึงยับเยินยิ่งกว่าในสมัยเสียกรุงครั้งแรก ฝ่ายหัวเมืองต่างๆ ที่มิได้ถูกพม่าย่ำยี ก็ถือโอกาสตั้งตนเป็นอิสระถึง 5 ชุมนุม คือ ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชและชุมนุมพระยาตาก (หรือพระยาวชิรปราการ) พระยาตากได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ทำการสู้รบขับไล่พม่า จนกระทั่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ แต่สภาพกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ พระยาตากจึงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา
การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
                
หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป เพราะ
                    1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายชำรุดทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้
                    2. กรุงศรีอยุธยามีบริเวณกว้างขวางมาก เกินกว่ากำลังของพระองค์ที่มีอยู่ เพราะผู้คนอาศัยอยู่ตามเมืองน้อย ส่วนมากหลบหนีพม่าไปอยู่ตามป่า จึงยากแก่การรักษาบ้านเมืองได้สะดวกและปลอดภัย
                    3. ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านการรบ
                    4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันตรายทั้งทางบกและทางน้ำ ข้าศึกสามารถโจมตีได้สะดวก
                    5. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ
                ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยสาเหตุสำคัญต่อไปนี้
                    1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ
                    2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
                    3. สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม
                    4. ถ้าหากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังของทางกรุงธนบุรีจะต้านทานได้ก็สามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้ โดยอาศัยทางเรือได้อย่างปลอดภัย
                    5.กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลืออยู่ สามารถใช้ในการป้องกันข้าศึกได้บ้างที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ  คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์
การรวบรวมอาณาเขต
                
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายแตกสาแหรกขาด ผู้คนพากันหลบหนีเอาชีวิตรอด เกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนที่รอดพ้นจากการจับกุมและไม่ถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ได้พยายามรักษาตัวรอด โดยการซ่องสุมผู้คนขึ้นตั้งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ชุมนุม ได้แก่
                1.ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน หัวหน้าคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ โอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าเมืองพิมายมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์บ้านพลูหลวง จึงได้สนับสนุนขึ้นเป็นใหญ่
                2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี ทางเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยไปจนถึงเมืองแพร่ เจ้าพระฝาง (เรือน) เป็นสังฆราชเมืองสวาคบุรี มีความสามารถทางคาถาอาคม จึงตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ทั้งที่อยู่ในสมณเพศ (แต่ใช้ผ้าแดงนุ่งห่มแทนผ้าเหลือง)
                3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นหัวหน้า เป็นชุมนุมที่สำคัญทางเหนือ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัย ลงมาถึงนครสวรรค์ เจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นขุนนางใหญ่ที่มีความสามารถในด้านการปกครองและการรบ พวกขุนนางที่หลบหนีพม่าออกจากรุงศรีอยุธยาได้ไปสมทบกับชุมนุมนี้เป็นอันมาก ต่อมาถึงแก่พิราลัย หัวหน้าชุมนุมคนต่อมา คือ พระอินทร์อากร
                4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าคือ เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) หรือหลวงสิทธินายเวร มีอาณาเขตตั้งแต่หัวเมืองมลายูขึ้นมาถึงเมืองชุมพร
                5.ชุมนุมพระยาตาก ตั้งอยู่บริเวณหัวเมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันออก เมื่อพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ได้พยายามป้องกันรักษาบ้านเมืองอย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นคับขันมาก ทำให้พระยาตากรวบรวมสมัครพรรคพวกไทย-จีน ประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกจากเมืองในเดือนยี่(มกราคม) พ.ศ.2309 เพื่อที่จะรวบรวมผู้คนมาสู้รบกับพม่าในตอนหลัง
                พระยาตากมุ่งหน้าไปทางตะวันออกของเมืองนครนายก และปราจีนบุรี ผ่านฉะเชิงเทรา ชลบุรี ถึงระยอง และที่ระยอง พระยาตากได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ พวกบริวารจึงเรียกว่า “เจ้าตาก” แต่นั้นมา   การที่เจ้าตากเลือกที่ตั้งมั่นทางหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก เพราะ
                    1.หัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกไม่ได้เป็นเส้นทางที่พม่าเดินทัพผ่าน
                    2.เจ้าตากตัดสินใจเข้าโจมตีเมืองจันทบุรี เพราะจันทบุรีเป็นหัวเมืองเอกทางฝั่งทะเลด้านตะวันออก อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร สามารถค้าขายกับพ่อค้าจีนทางทะเลได้สะดวก และยังมีป้อมปราการมั่นคง เหมาะสำหรับยึดเป็นที่มั่นเพื่อเตรียมการรวบรวมไพร่พลต่อไป เจ้าตากยึดเมืองจันทบุรีได้ในเดือน 7 (มิถุนายน) พ.ศ.2310 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน
การดำเนินงานกู้อิสรภาพ
                
เจ้าตากใช้เมืองจันทบุรีเป็นแหล่งตระเตรียมการที่จะเข้ามากอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้พ้นจากอำนาจของพม่า ระหว่างฤดูฝน ได้ต่อเรือรวบรวมกำลังผู้คนและอาวุธ เจ้าตากพิจารณาว่าในระยะนั้นมีผู้คนตั้งตัวเป็นใหญ่หลายชุมนุมด้วย ผู้ที่จะเป็นใหญ่ได้จำเป็นจะต้องกำจัดอำนาจพม่าให้พ้นจากราชธานีเสียก่อน ดังนั้น เมื่อสิ้นฤดูฝนเจ้าตากได้ควบคุมเรือรบ 100 ลำ รวบรวมไพร่พล ประมาณ 5,000 คน ยกกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรีมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือน 12 ตีเมืองธนบุรีและจับตัวนายทองอินประหารชีวิตแล้วขึ้นไปยังค่ายโพธิ์สามต้น สามารถขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากที่ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเพียง 7 เดือนเท่านั้น
               สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชและรวบรวมคนไทย ตั้งเป็นอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่นได้ เป็นเพราะ
                    1.พระปรีชาสามารถในการรบของพระองค์
                    2.พระปรีชาสามารถในการผูกมัดน้ำใจคน จูงใจผู้อื่น ทรงมีความสุขุมรอบคอบ และเด็ดเดี่ยว
                    3.ทหารของพระองค์มีความสามารถ มีระเบียบวินัย กล้าหาญ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในอันที่จะสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยให้และประเทศโดยอุทิศตัวเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
                เมื่อตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี อาณาจักรของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีอาณาเขตเพียงกรุงธนบุรี หัวเมืองรายรอบและหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเท่านั้น ครั้งเมื่อพระองค์ปราบปรามชุมนุมต่างๆเป็นผลสำเร็จแล้ว อาณาจักรของพระองค์ก็กว้างขวางขึ้น การรวบรวมอาณาเขตภายในราชอาณาจักรของพระองค์ ใช้เวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น บ้านเมืองก็กลับสู่สภาพปกติอีกครั้ง
การปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ
                
แผนการปราบปรามชุมนุมต่างๆ เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2311 ด้วยการยกทัพเรือจากธนบุรี เพื่อปราบปรามชุมนุมพิษณุโลก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะได้รับการต่อต้านจนกระทั่งพระเจ้าตากทรงบาดเจ็บต้องยกทัพกลับ ส่วนทางพระยาพิษณุโลกเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงตั้งตัวเป็นกษัตริย์ พอราชาภิเษกได้ 7 วัน ก็ประชวรและถึงแก่พิราลัยในที่สุด พระอินทร์อากรน้องชายได้ขึ้นครองเมืองแทน เมืองพิษณุโลกก็เริ่มอ่อนแอทรุดโทรมลงตามลำดับ ด้วยเหตุนี้เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงยกทัพลงมาตีเมืองพิษณุโลกเอาไว้ได้ในที่สุด
                ทางฝ่ายสมเด็จพระเจ้าตาก เมื่อทราบข่าวพระยาพิษณุโลกถึงแก่พิราลัยและเมืองพิษณุโลกเกิดรบพุ่งกับเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี ก็เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพิมาย และตีได้เป็นชุมนุมแรก
                พ.ศ.2312 โปรดให้ยกทัพไปตีชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช และสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ มีผลทำให้อำนาจของกรุงธนบุรีขยายไปถึงสงขลา พัทลุงและเทพา
                พ.ศ.2313 ได้ยกทัพไปปราบเจ้าพระฝางได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งขณะเดียวกันก็ยึดเมืองพิษณุโลกได้ด้วย
การป้องกันพระราชอาณาจักร
                
ปัญหาที่สำคัญยิ่งตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ การรักษาเอกราชของประเทศให้มั่นคงปลอดภัย หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ได้ต้องทำการรบกับพม่าอีกหลายครั้งซึ่งส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายชนะ การทำสงครามกับพม่าครั้งสำคัญ เช่น
                    1. การรบกับพม่าที่บางกุ้ง สมุทรสงคราม พ.ศ. 2311 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียอาวุธและเสบียงอาหาร และเรือเป็นจำนวนมาก
                    2. พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. 2313 ผลปรากฏว่าพม่าไม่สามารถตีไทยได้
                    3. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2313 สงครามครั้งนี้ต่อเนื่องจากสงครามครั้งที่ 2 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองสวรรคโลก ทรงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะยึดเมืองเชียงใหม่มาจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
                    4. พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ. 2315 แต่ไม่สำเร็จ ถูกตีแตกพ่ายไป
                    5. พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ. 2316 ผลปรากฏว่าพม่าพ่ายแพ้ไปทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหักขึ้น
                    6. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317 สามารถยึดเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้
                    7. การรบกับพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พ.ศ. 2317 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียชีวิตและถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
                    8. อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ โดยเฉพาะพิษณุโลก พ.ศ. 2318-2319 สงครามครั้งนี้นับว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ในสมัยธนบุรี ผลปรากฏว่าพม่าแพ้ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
                    9 .พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319 พม่าไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ต้องแตกพ่ายไป แต่หลังจากที่พม่าแตกทัพกลับไปแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าเชียงใหม่มีผู้คนไม่มากพอที่จะรักษาเมือง จึงอพยพผู้คนออกจากเมืองและประกาศให้เป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ตั้งขึ้นมาใหม่
การขยายอาณาเขต
                
หลังจากที่เหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงเริ่มขยายอาณาเขตออกไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เขมรและลาว
                1. การขยายอำนาจไปยังเขมร ขณะนั้นดินแดนเขมรเกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่างพระรามราชา (นักองนน)กับพระนารายณ์ราชา(นักองตน) พระนารายณ์ราชาไปขอความช่วยเหลือจากญวน พระรามราชาสู้ไม่ได้หนีมาขอความช่วยเหลือจากไทย ครั้งแรกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชส่งพระราชสาสน์ไปยังพระนารายณ์ราชาให้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย แต่พระนารายณ์ราชาไม่ยอม ดังนั้นจึงทรงโปรดฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และพระยาอนุชิตราชา (บุญมา) นำทัพไปตีเขมรใน พ.ศ. 2312 ขณะที่ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ พระตะบอง โพธิสัตว์ กับจะตีเมืองพุทไธเพชร (บันทายเพชร) เขมรปล่อยข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคต พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาจึงยกทัพกลับพ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบชุมนุมต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จยกทัพไปตีเขมรอีกครั้งและสามารถตีเขมรได้สำเร็จ ได้สถาปนาพระรามาชาขึ้นครองเขมร ส่วนพระนารายณ์ราชาหนีไปพึ่งญวน ต่อมาได้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นพระมหาอุปโยราช (วังหน้า) (ตำแหน่งพระมหาอุปโยราช คือ ตำแหน่งรัชทายาทของกษัตริย์เขมร ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งพระมหาอุปราชของไทย) เหตุการณ์ในเขมรจึงสงบลง
                ต่อมาใน พ.ศ. 2323 เกิดการกบฏในเขมร พวกกบฏจับพระรามราชาและพระนารายณ์ราชาปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบการจลาจลได้สำเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองเองซึ่งเป็นโอรสของพระนารายณ์ราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เขมรจึงหันไปพึงญวนอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบเขมร ขณะที่กองทัพไทยจะรบกับเขมรอยู่นั้น ก็มีข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจลวุ่นวาย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเสียพระสติ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงต้องรีบยกทัพกลับ
                2. การขยายอำนาจไปลาว ในสมัยกรุงธนบุรีไทยได้ทำศึกขยายอำนาจไปยังลาว 2 ครั้ง คือ
                    2.1 การตีเมืองจำปาศักดิ์  เพราะเจ้าเมืองนางรองเกิดขัดใจกับเจ้าเมืองนครราชสีมา จึงคิดกบฏต่อไทยไปขอขึ้นกับเจ้าโอ (หรือเจ้าโอ้) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีไปปราบ จับเจ้าเมืองนางรองประหารชีวิต ทำให้เมืองจำปาศักดิ์และดินแดนลาวตอนล่างอยู่ภายใต้อำนาจของไทย ใน พ.ศ.2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาจักรี เป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศราชสุริยวงศ์” นับว่าเป็นการพระราชทานยศให้แก่ขุนนางสูงที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏมาในสมัยนั้น
                    2.2 การตีเวียงจันทน์ มีสาเหตุมาจากพระวอเสนาบดีของเจ้าสิริบุญสารเกิดวิวาทกับเจ้าครองนครเวียงจันทน์ พระวอจึงหนีเข้ามาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (ในจังหวัดอุบลราชธานี) ขอสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจ้าสิริบุญสารได้ส่งกองทัพมาปราบและจับพระวอฆ่าเสีย ใน พ.ศ.2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมาหาราชจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบ ขณะที่ไทยยกทัพไป เจ้าร่มขาวเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบางมาขอสวามิภักดิ์ต่อไทยและส่งกองทัพมาช่วยตีเมืองเวียงจันทน์ด้วย เจ้าสิริบุญสารสู้ไม่ได้จึงหลบหนีไป เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมทั้งพระบางมาไว้ที่ไทยด้วย (ส่วนพระบางนั้น ต่อมาไทยคืนให้แก่ลาวในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
ความเจริญทางด้านต่างๆ ในสมัยธนบุรี และการติดต่อกับต่างประเทศ
                
ตลอดระยะเวลา 15 ปี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการต่อสู้ปราบปราม ป้องกันและขยายอาณาเขตของประเทศ จึงไม่ค่อยมีเวลาจะที่จะพัฒนาประเทศทางด้านอื่นมากนัก แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงพยายามสร้างความเจริญให้แก่ประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้
                1. ด้านการปกครอง ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรี ดำเนินรอยตามแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น
                    1.1 การปกครองส่วนกลางหรือราชธานี อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ดูแลฝ่ายทหาร และสมุหนายก ดูแลฝ่ายพลเรือน กับตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา กรมทั้ง 4 นี้ มีหน้าที่ คือ
                            1) กรมเวียง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ บังคับบัญชาบ้านเมือง และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                            2) กรมวัง มีหน้าที่รับเกี่ยวกับราชสำนัก และพิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
                            3) กรมคลัง มีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากร บังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีหน้าที่เกี่ยวกับพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวง
                            4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือและที่นา  คำว่า “กรม” ในที่นี้หมายความคล้ายกับ “กระทรวง”ในปัจจุบัน
                    1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
                            1) การปกครองหัวเมืองชั้นใน ที่อยู่รายรอบราชธานี เรียกว่า เมืองชั้นจัตวา มีผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง” ปฏิบัติตามคำสั่งของเสนาบดีจตุสดมภ์ในราชธานี
                            2) การปกครองหัวเมืองภายในราชอาณาจักร เรียกว่า หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป แบ่งออกเป็นเมืองชื้นเอก โท ตรี
                            3) การปกครองหัวเมืองประเทศราช ที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามกำหนด ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีอธรรมราช
                2. ด้านกฎหมายและการศาล กฎหมายและวิธีพิจารณาคดีความในศาลสมัยธนบุรี ใช้ตามแบบสมัยอยุธยาเท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มีเพียงฉบับเดียว เกี่ยวกับการสักเลก คือ การลงทะเบียนชายฉกรรจ์เพื่อรับใช้ในราชการ เรียกว่า ไพร่หลวง การสักเลกในสมัยนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นระยะเวลาของการป้องกันและแผ่อำนาจเพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง   ส่วนการศาลมักใช้บ้านของเจ้านาย บ้านของตุลาการ บางครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงเป็นผู้พิพากษาคดีเอง และทรงใช้ศาลทหารและพระบรมราชโองการเป็นกฎหมายใช้ในการตัดสินคดีความด้วย
                3. ด้านเศรษฐกิจ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว สภาพเศรษฐกิจของไทยตกต่ำมากประชาชนยากจนอัตคัดฝืดเคือง อาหารหายากและราคาแพง เนื่องจากในขณะที่เกิดศึกสงครามผู้คนต่างพากันหนีเอาตัวรอด การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ตั้งกรุงธนบุรีใหม่ๆ ด้วยการจ่ายพระราชทรัพย์ซื้อข้าวจากพ่อค้าต่างประเทศในราคาสูงเพื่อแจกจ่ายประชาชน และชักชวนให้ราษฎรกลับมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามเมืองต่างๆ ทำมาหากินดังแต่ก่อน   นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังส่งเสริมทางด้านการค้าขาย มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศ อินเดียและประเทศใกล้เคียง สำหรับสิ่งของที่บรรทุกเรือสำเภาหลวงไปขาย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ และเมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็จะซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ในประเทศ เช่น ผ้าลายและถ้วยชามมาขายให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการค้าขายนี้เป็นแบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังสินค้า หรือกรมาท่า มีการส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพาะปลูก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
                4. ด้านสังคม สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพราะมีการทำศึกกับพม่าบ่อยครั้ง มีการสักเลกบอกชื่อสังกัดมูลนายและเมืองไว้ที่ข้อมือไพร่หลวงทุกคน ซึ่งมีหน้าที่รับใช้ราชการปีละ 6 เดือน โดยการมารับราชการ 1 เดือน แล้วหยุดไปทำมาหากินของตนอีก 1 เดือนสลับกันไป เรียกว่า “การเข้าเดือนออกเดือน” ไพร่หลวงอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “ไพร่ส่วย” คือ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของแทนการใช้แรงงานแก่ราชการ ซึ่งเป็นพวกที่รับใช้แต่เฉพาะเจ้านายที่เป็นขุนนาง
                5. ด้านการศึกษา แม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงคราม แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงทะนุบำรุงการศึกษาอยู่เสมอ ศูนย์กลางการศึกษาในสมัยธนบุรีอยู่ที่วัด เด็กผู้ชายเมื่อมีอายุพอสมควร พ่อแม่มักเอาไปฝากกับพระ เมื่อมีเวลาว่างพระก็จะสอนให้อ่านเขียน หนังสือแบบเรียนที่ใช้คือหนังสือจินดามณี เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว ก็เรียนแต่งร้อยแก้ว โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ศึกษาศัพท์ เขมร บาลี สันสกฤต วิชาเลข เรียนมาตราไทย ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย คิดหน้าไม้ (วิธีการคำนวณหาจำนวนเนื้อไม้เป็นยก หรือเป็นลูกบาศก์) การศึกษาด้านอาชีพ พ่อแม่มีอาชีพอะไรก็มักฝึกให้ลูกหลานมีอาชีพตามตนเอง โดยฝึกฝนตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เช่น วิชาช่างและแกะสลัก ช่างปั้น ช่างถม แพทย์แผนโบราณ ฯลฯ
                ส่วนสตรี ประเพณีโบราณไม่นิยมให้เรียนหนังสือ มีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้ เด็กผู้หญิงส่วนมากจะถูกฝึกสอนให้ด้านการเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน และมารยาทของกุลสตรี
                6. ด้านศาสนา เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สิ่งสำคัญต่างๆ ในพระพุทธศาสนาถูกทำลายเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี พระองค์ได้ฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่โดยชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ พระสงฆ์รูปใดที่ประพฤติไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกไปเสีย พระสงฆ์รูปใดประพฤติอยู่ในพระวินัยทรงอาราธนาให้บวชเรียนต่อไป นอกจากนี้ พระองค์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างพระอุโบสถ วิหาร เสาสนะ กุฏิสงฆ์และวัดวาอารามต่างๆ เช่น วันบางยี่เหนือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) วัดหงส์ (วัดหงส์รัตนาราม) เป็นต้น
                นอกจากนี้เมื่อพระองค์ทราบว่าพระไตรปิฎกมีอยู่ที่ใด ก็ทรงให้นำมาคัดลอกเป็นฉบับหลวงไว้ที่กรุงธนบุรี แล้วส่งต้นฉบับกลับไปเก็บไว้ที่เดิม ทรงให้ช่างจารพระไตรปิฎกทั้งจบ ที่สำคัญที่สุดทรงให้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดอรุณราชวราราม
                7. ด้านศิลปะและวรรณกรรม สมัยกรุงธนบุรีด้านศิลปะมีไม่ค่อยมากนัก เพราะบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงให้มีการละเล่น เพื่อเป็นการบำรุงขวัญประชาชน ให้หายจากความหวาดกลัวและลืมความทุกข์ยาก มีขบวนแห่อัญเชิญและสมโภชพระแก้วมรกตเป็นเวลา 7 วัน การประชันละครระหว่างละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราช และละครหลวง
                ผลงานทางด้านวรรณกรรมในสมัยนั้น มีน้อยและไม่สู้สมบูรณ์นัก วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์บางตอน หลวงสรวิชิต (หน) ประพันธ์ลิลิตเพชรมงกุฏและอิเหนาคำฉันท์ นายสวนมหาดเล็ก ประพันธ์โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี การไปติดต่อกับจีนในปลายรัชสมัยทำให้มีวรรณกรรมเกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง คือ นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือนิราศเมืองกวางตุ้ง 
                
ส่วนผลงานด้านสถาปัตยกรรมในสมัยธนบุรี ไม่มีผลงานดีเด่นที่พอจะอ้างถึงได้
การติดต่อกับประเทศตะวันตก
                
ในสมัยธนบุรีประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ดังนี้
                    1. ฮอลันดา ใน พ.ศ. 2313 ฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย (จาการ์ตา) ซึ่งเป็นสถานีการค้าของฮอลันดา และแขกเมืองตรังกานูได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อถวายปืนคาบศิลา จำนวน 2,200 กระบอก และถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองด้วย
                    2. อังกฤษ ใน พ.ศ.2319 กัปตันฟรานซิส ไลท์ ได้นำปืนนกสับ จำนวน 1,400 กระบอกและสิ่งของอื่นๆ เข้ามาถวายเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี
                    3. โปรตุเกส ใน พ.ศ. 2322 แขกมัวร์จากเมืองสุรัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส นำสินค้าเข้ามาค้าขายในกรุงธนบุรี และไทยได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายยังประเทศอินเดีย
เหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรี
                
ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟือนไป เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั่วแผ่นดินจากข้าราชการที่ทุจริตกดขึ่ข่มเหงหาประโยชน์ส่วนตัว เป็นเหตุทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี ราษฎรต่างทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นอันมาก
                ขณะเดียวกันก็เกิดกบฏขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทราบข่าวกบฏ จึงสั่งพระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าพวกกบฏ ยกพวกเข้าปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี ในเดือนเมษายน 2324 บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวชและคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม และพระยาสรรค์ก็ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน
                ส่วนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กำลังจะยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน 2325 เมื่อมาถึงกรุงธนบุรี พระองค์ได้ซักถามเรื่องราวความยุ่งยากที่เกิดขึ้น จึงให้ประชุมข้าราชการ ปรากฏว่าที่ประชุมลงความเห็นว่าให้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะนั้นทรงมีพระชนม์ 48 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี
                ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงตรากตรำในการสู้รบ เพื่อรักษาและขยายของเขตแผ่นดินโดยมิได้ว่างเว้น จนสามารถขยายเป็นอาณาจักรใหญ่ในแหลมทองนี้ได้ พระองค์ทรงเป็นนักรบ มิได้ทรงมีโอกาสแม้แต่จะเสวยสุขสงบในบั้นปลายพระชนม์ชีพ เพราะได้เกิดกบฏพระยาสรรค์ขึ้นก่อน บ้านเมืองวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้ทรงถูกสำเร็จโทษดังที่กรมหลวงนรินทรเทวีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุความทรงจำของท่านว่า  “เมื่อต้นแผ่นดินเย็นด้วยพระบารมี ชุ่มพื้นชื่นผลจนมีแท่น ปลายแผ่นดินแสนร้อย รุมสุมรากโคนโค่นล้มถมแผ่นดิน ด้วยสิ้นพระบารมีแต่เพียงนั้น”
สรุปเหตุการณ์สำคัญสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ลำดับที่
พ.ศ.
เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้น
1
พ.ศ.2277
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระราชสมภพ (สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) บิดาชื่อ ไหฮอง มารดาชื่อ นางนกเอี้ยง มีกำเนิดเป็นสามัญชน เมื่อพระชนมายุได้ 4 วัน เจ้าพระยาจักรีขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
2
พ.ศ.2290
เมื่ออายุครบ 13 พรรษา ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
3
พ.ศ.2298
เมื่ออายุครบ 21 พรรษา ทรงผนวช ณ สำนักอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส เมื่อทรงลาสิกขาแล้วได้รับราชการในตำแหน่งหาดเล็กรายงานในกรมหาดเล็กไทยและกรมวังศาลหลวง
4
พ.ศ.2301
ปีต้นรัชกาลสมเด็จพระสุริยาศน์อมรินทร์หรือพระเจ้าเอกทัศ ได้เป็นพระยาเจ้าเมืองตาก ต่อมาเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ได้ขึ้นไปครอง
5
พ.ศ.2309
พระยาวชิรปราการพาพรรคพวกไทย-จีน ฝ่าวงล้อมพม่าออกจากรุงศรีอยุธยาไปซ่องสุมกำลังผู้คนและตระเตรียมกำลังทัพที่จันทบุรี
6
พ.ศ.2310
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกอบกู้เอกราชคืนมาได้ในปีเดียวกัน และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่
7
พ.ศ.2311
เริ่มปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่ไม่สำเร็จ ปราบชุมนุมเจ้าพิมายสำเร็จเป็นชุมนุมแรก
8
พ.ศ.2312
ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชสำเร็จ ยกทัพไปตีเขมรครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ
9
พ.ศ.2313
รวบรวมประเทศได้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางสำเร็จ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ รบชนะพม่าที่สวรรคโลก และตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 จัดการปกครองและการศาสนาในหัวเมืองครั้งใหญ่
10
พ.ศ.2314
ยกทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2 และสามารถปราบเขมรไว้ในอำนาจ นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
11
พ.ศ.2315
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ
12
พ.ศ.2316
รบชนะพม่าที่มาตีเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 ทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก
13
พ.ศ.2317
รบชนะพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พม่าถูกจับและเสียชีวิตไปมายมาก ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ
14
พ.ศ.2318
พม่ายกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองเหนือแต่ไม่สำเร็จ ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
15
พ.ศ.2319
พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ
16
พ.ศ.2321
โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่กรุงธนบุรี
17
พ.ศ.2323
เกิดจลาจในเขมร โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พรองค์เจ้าจุ๊ย ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อน หลวงสรวิชิต(หน) แต่งอิเหนาคำฉันท์
18
พ.ศ.2324
ส่งทัพไปปราบจลาจลในเขมร
19
พ.ศ.2325
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 โดยถูกประหารชีวิตด้วยท่อนไม้จันทน์ด้วยทรงมีพระสติวิปลาส รวมเวลาครองราชย์ทั้งหมด 15 ปีเศษ