วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไหม

การเลี้ยงไหม
 
การเลี้ยงไหมของเกษตรกรแต่ดั้งเเดิมมีการปฏิบัติกันไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยจะทำการเลี้ยงไหมในกระด้ง ตั้งไว้บนบ้านแล้วใช้ผ้าคลุมกระด้ง จึงทำให้การเลี้ยงไหมไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากสภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของหนอนไหม การป้องกันกำจัดโรคไม่สามารถทำได้ เกษตรกรขาดแคลนเทคโนโลยีแผนใหม่ ดังนั้นการพัฒนาเทคนิควิธีการเลี้ยงไหมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการและถ่ายทอด สู่เกษตรกร เช่น การเลี้ยงไหมในห้องเลี้ยงไหมที่ถูกลักษณะ มีการถ่ายเทอากาศดี และแยกออกจากบ้านที่อยู่อาศัย สามารถทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อโรคได้ทั้งในห้องเลี้ยงไหมและวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงไหม นอกจากนี้ การส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรได้รู้จักคุ้นเคยกับพันธุ์ไหมและพันธุ์หม่อนพันธุ์ดีที่ปลอดโรคให้ผลผลิตสูงนั้นเป็นสิ่ง จำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เพราะการปลูกหม่อนพันธุ์ดีเพื่อใช้เลี้ยงไหมก็เท่ากับประสบผลสำเร็จไปแล้วกว่า 30% นอกจากนี้ในด้านการจัดการก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการผลิตไหมและจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย พันธุ์ไหมพันธุ์ส่งเสริม
1. ไหมไทยลูกผสม เป็นไหมพันธุ์ลูกผสมระหว่างไหมพันธุ์ไทยพื้นเมืองกับพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เช่น
    - พันธุ์กสก 2 ให้ผลผลิตรังไหมโดยประมาณ 18-20 กิโลกรัมต่อแผ่น
    - พันธุ์ดอกบัว ให้ผลผลิตรังไหมโดยประมาณ 16-18 กิโลกรัมต่อแผ่น
2. ไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เป็นไหมพันธุ์ผสมระหว่างสายพันธุ์ญี่ปุ่นกับสายพันธุ์จีน เช่น พันธุ์ลูกผสมต่างประเทศที่นำเข้าจากญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพันธุ์กสก1, กสก5, K1K8, พันธุ์จุล 5, พันธุ์ของบริษัทจิมทอมสันป์ ซึ่งมีผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลกรัมต่อแผ่น
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น